หน้าแรก > สังคม > สุขภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ ฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลกเป็นครั้งที่สอง ในรอบสองปี

วันที่ 15 สิงหาคม 2567 เวลา 09:07 น.


วันที่ 15 สิงหาคม 2567 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ ฝีดาษลิง (เอ็มพ็อกซ์) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลกเป็นครั้งที่สอง ในรอบสองปี หลังจากเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ได้แพร่ระบาดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

'เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส' ผู้อำนวยการใหญ่อนามัยโลก กล่าวในการแถลงข่าวที่เจนีวา ว่า "ชัดเจนว่าการตอบสนองระหว่างประเทศที่ประสานงานกันนั้น ถือว่ามีมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อหยุดยั้งการระบาดเหล่านี้ และช่วยชีวิตผู้คน"


การกำหนดให้การระบาดของโรคเป็น 'ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ'  ซึ่งเป็นระดับการเตือนภัยสูงสุดของอนามัยโลก จะช่วยเร่งการวิจัย การจัดหาเงินทุน และมาตรการด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ รวมถึงความร่วมมือในการควบคุมโรค


การระบาดในคองโกเริ่มต้นจากการแพร่กระจายของสายพันธุ์ประจำถิ่นที่เรียกว่า 'เคลด ไอ' (clade I) แต่สายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า 'เคลด ไอบี' (clade Ib) ซึ่งแพร่กระจายได้ง่ายกว่า ผ่านการสัมผัสใกล้ชิดในชีวิตประจำวัน รวมถึงการสัมผัสทางเพศ

 

โดย 'เคลด ไอบี' ได้แพร่ระบาดจากประเทศคองโกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น บุรุนดี / เคนยา / รวันดา / อูกันดา อย่างรวดเร็ว


ทั้งนี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกา รายงานว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสเอ็มพอกส์ในทวีปแอฟริกาแล้วกว่า 17,000 ราย และมีผู้เสียชีวิต 517 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้น 160% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายงานผู้ติดเชื้อทั้งหมด 13 ประเทศ


ไวรัสเอ็มพอกส์ หรือที่เรียกว่ากลุ่ม ไอไอบี แพร่ระบาดไปทั่วโลกในปี 2022 โดยส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสทางเพศระหว่างชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายด้วยกัน ส่งผลให้อนามัยโลกต้องประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในปีนั้น และประกาศยุติภาวะฉุกเฉินดังกล่าวในอีก 10 เดือนต่อมา

 


 

 

 

 

 

 

ข่าวยอดนิยม


ข่าวยอดนิยม