วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 เวลา 15:12 น.
15 พฤษภาคม 2567 เนื่องในเดือนพฤษภาคม เป็นเดือนแห่งการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาการปวดท้องน้อย May is Pelvic Pain Awareness Month โดยในปีนี้นับเป็นปีที่ 3 แล้วที่ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ออกมากระตุ้นเตือนโดยตอกย้ำสารรณรงค์ #ปวดท้องน้อยอย่าปล่อยผ่าน สัญญาณเตือนโรคช็อกโกแลตซีสต์ เพื่อให้สตรีไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของอาการปวดท้องน้อยแล้วอย่าปล่อยผ่าน เพราะอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับโรคช็อกโกแลตซีสต์ โรคยอดฮิตที่ผู้หญิงหลายคนมักมองข้าม ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และโรงเรียนนักอัลตราซาวด์ทางการแพทย์ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จึงได้ร่วมจัดกิจกรรมบริการวิชาการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ณัฐวุฒิ กันตถาวร ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หัวหน้าศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ แพทย์หญิงกตัญญุตา นาคปลัด แพทย์เฉพาะทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา และเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร่วมเสวนาให้ความรู้ และแขกรับเชิญพิเศษ ดีเจอ้อย-นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ พร้อมทั้งให้บริการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่างสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเชษฎ์ สิริพงษ์สกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนนักอัลตราซาวด์ทางการแพทย์ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์นำทีมเข้าร่วมให้บริการ ณ อาคารบริหารไปรษณีย์ไทย ถนนแจ้งวัฒนะ พร้อมทั้งเผยแพร่กิจกรรมเสวนาให้ความรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทาง Facebook โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และช่อง YouTube CRA CHULABHORN Channel สถานีสื่อความรู้สร้างสุขภาวะที่ดีเพื่อสังคมไทยโดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ตอกย้ำสารรณรงค์ #ปวดท้องน้อยอย่าปล่อยผ่าน สัญญาณเตือนโรคช็อคโกแล็ตซีสต์ ซึ่งเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่บริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน ดังนั้น หากมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง อย่านิ่งนอนใจ แนะนำเข้ารับการปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง
สำหรับโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือ ภาวะที่มีการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ โดยที่เยื่อบุโพรงมดลูกที่ไปเจริญเติบโตนอกโพรงมดลูก โดยอาจแทรกตัวอยู่ในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก เยื่อบุช่องท้อง รังไข่ ผนังลำไส้ และผนังกระเพาะปัสสาวะ หรือบางครั้งอาจกระจายไปสู่อวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด เมื่อเยื่อบุเหล่านี้ไปเจริญเติบโตอยู่ผิดที่ ทำให้มีเลือดสีแดงคล้ำหรือสีดำข้นคล้ายช็อกโกแลตขังอยู่ตามอวัยวะดังกล่าว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่พบได้ในผู้ป่วยโรคนี้ เช่น หากมีการไปเจริญเติบโตที่รังไข่จนกลายเป็นถุงน้ำจะเรียกว่า ช็อคโกแลตซีสต์ ตำแหน่งที่พบบ่อยส่วนใหญ่มักพบบริเวณอุ้งเชิงกราน ได้แก่ รังไข่ ท่อนำไข่ เยื่อบุช่องท้องทางด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างของมดลูกรวมถึงอวัยวะใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ ยังพบได้ที่ท่อไต ลำไส้เล็ก ปอด สมอง และบริเวณผิวหนัง หรือแผลผ่าตัด เป็นต้น พบได้ประมาณ 1 ใน 10 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ และอาจสูงถึง 5 ใน 10 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอาการปวดประจำเดือน โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดประจำเดือนทำให้เราต้องทนทุกข์ทรมานจากการปวด ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง บางครั้งส่งผลทางด้านการงานและสังคม ซึ่งเป็นอาการส่วนใหญ่ที่มาพบแพทย์ โดยปกติมักจะมีอาการปวดนำมาก่อน 2-3 วันก่อนที่ประจำเดือนมา สำหรับการป้องกันโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่นี้ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดโรคนี้ที่ได้ผลแน่นอน ดังนั้น หากมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะอาการปวดประจำเดือนหรือปวดบริเวณท้องน้อย ควรรีบปรึกษาสูตินรีแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ หรือสามารถนัดหมายเพื่อปรึกษาแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้ที่ ศูนย์สุขภาพสตรี ชั้น 9 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ ผ่านทาง LINE Official โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เลือกเมนู ทำนัด/เลื่อนนัด เลือก LINE สุขภาพสตรี เพื่อแชทปรึกษานัดหมายกับทางศูนย์สุขภาพสตรี
ติดตามรับชมย้อนหลัง บริการวิชาการเรื่อง “ปวดท้องน้อยอย่าปล่อยผ่าน สัญญาณเตือนโรคช็อกโกแล็ตซีสต์ ได้ที่ https://youtube.com/live/MzJhy4HkLaI?feature=share
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์