วันที่ 27 สิงหาคม 2566 เวลา 19:43 น.
วันนี้ (27 สิงหาคม 2566) มีปรากฏการณ์ที่ดาวเสาร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (Saturn Opposition) หมายถึง ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ห่างประมาณ 1,310 ล้านกิโลเมตร
หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจะมองเห็นดาวเสาร์ปรากฏสว่างอยู่ทางทิศตะวันออก สังเกตได้ยาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า ทั้งนี้ท้องฟ้าเป็นใจ : ฟ้าใสไร้ฝน เราก็จะดูได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า หรือ เมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยาย 30 เท่าขึ้นไป จะเห็นวงแหวนที่โดดเด่น ชัดเจน และหากใช้กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไปจะมองเห็นแนวช่องว่างภายในวงแหวน นั่นคือ ช่องว่างแคสสินี ที่แบ่งระหว่างวงแหวนชั้น A และชั้น B รวมถึงสามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์ของดาวเสาร์ได้อีกด้วย
ทาง NARIT จัดสังเกตการณ์ชวนส่อง ราชาแห่งวงแหวน ในคืนวันที่ 27 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 18:00-22:00 น. ณ จุดสังเกตการณ์หลักทั้ง 4 แห่ง
อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ :
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา