หน้าแรก > การเมือง

“เรืองไกร” ขอศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบผู้ตรวจการแผ่นดิน ร้องโดยชอบ หรือไม่

วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 12:54 น.


25 ก.ค.2566 ภายหลัง ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยปมเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โหวตนายกรัฐมนตรีซ้ำ ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ และขอให้ศาลรัฐธรรมนญสั่งชะลอการประชุมเลือกนายกรัฐมนตรีวันที่ 27 ก.ค.นี้ ออกไป จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย ล่าสุดนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส่งเรื่องให้ ศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบว่า ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีหน้าที่และอำนาจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 88 มาตรา 159 และมาตรา 272 โดยอ้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 หรือไม่

พร้อมกล่าวว่าหากพิจารณาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2560 แนวคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 กรณี จึงมีประเด็นที่ควรขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ ดังนี้

-ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่และอำนาจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 88 มาตรา 159 และมาตรา 272 โดยการกล่าวรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 หรือไม่ อย่างไร โดยการกล่าวอ้างถึงรัฐธรรมนูญ มาตรา 88 มาตรา 159 มาตรา 272 นั้น เป็นกรณีเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ใช่หรือไม่ รัฐสภาต้องเป็นผู้ทำหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญ ใช่หรือไม่ (ตามแนวคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564)

-ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีปัญหาเกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา หรือไม่ อย่างไร

-ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีสิทธิจะขอให้ศาลดำเนินการตามมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ได้หรือไม่

-การมีมติให้ดำเนินการดังกล่าวของผู้ตรวจการแผ่นดิน ชอบหรือไม่

"เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญหลายมาตรา กฎหมายหลายฉบับหลายมาตรา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมรู้เอง เพราะเคยวินิจฉัย กรณีผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้วินิจฉัยหลายครั้งแล้ว (เช่น ตามคำวินิจฉัยล่าสุด 7 ครั้ง ตามคำสั่งล่าสุด 7 ครั้ง) วันนี้ ตนจึงได้ส่งหนังสือทางไปรษณีย์ EMS ถึงศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ตรวจสอบว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่และอำนาจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 88 มาตรา 159 และมาตรา 272 โดยอ้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 หรือไม่ อย่างไร"

ข่าวยอดนิยม


ข่าวยอดนิยม