วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เวลา 23:28 น.
ศปถ.กทม. เสนอเคร่งครัดมาตรการปลอดภัยในช่วงกลางคืน ดูแลพื้นที่ก่อสร้าง ลดอุบัติเหตุทางถนนใน กทม.
รศ.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร (ศปถ.กทม.) ครั้งที่ 2/2566 ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง ที่ประชุมรับทราบรายงานผลการดูแลประชาชนด้านความปลอดภัยทางถนนและข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามแผนป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงสงกรานต์ ตั้งแต่ วันที่ 4 - 24 เม.ย. 66 สำหรับช่วง 7 วันอันตราย (วันที่ 11 - 17 เม.ย. 66) พบอุบัติเหตุในพื้นที่กทม. สะสมจำนวน 37 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ จำนวน 26 คน และมีผู้เสียชีวิต จำนวน 22 คน โดยช่วงเวลาที่เกิดเหตุสูงสุดคือระหว่างเวลา 00.01 - 03.00 น. สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด และทำให้เกิดการเสียชีวิตสูงสุดเช่นกัน คือ ขับรถเร็วเกินกำหนด และยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือจักรยานยนต์
จากการถอดบทเรียนอุบัติเหตุกรณีผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2566 พบว่า ประเด็นความเสี่ยงหลักคือพฤติกรรมผู้ใช้ทาง และกายภาพถนนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงมาตรการสำหรับกรณีรถจักรยานยนต์ล้มเองไม่มีคู่กรณี กรณีคนเดินถนนถูกรถยนต์ชน กรณีรถจักรยานยนต์ถูกรถยนต์ชน และกรณีอุบัติเหตุบนทางพิเศษ นอกจากนี้ที่ประชุมตั้งข้อสังเกตว่าจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่กทม.ที่ผ่านมาหลายครั้งพบว่า มักเกิดในช่วงกลางคืน ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาสาเหตุการเกิดในช่วงเวลากลางคืนเพื่อให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอุบัติเหตุในช่วงดังกล่าว รวมถึงประสานสำนักการโยธาในการกำกับผู้รับจ้างในพื้นที่ก่อสร้างซึ่งอยู่ในความดูแลของกทม.และของหน่วยงานภายนอกอย่างเคร่งครัดในเรื่องของมาตรการความปลอดภัยด้วยตั้งอนุกรรมการดูแลความปลอดภัยกลุ่มไรเดอร์และเตรียมจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะประธานกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร ได้ลงนามในคำสั่งศูนย์ฯ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการจัดการความปลอดภัยทางถนนในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ของกทม. ประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการธุรกิจรับส่งอาหารเพื่อสนับสนุนให้เกิดมาตรการในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ของกทม. และเชื่อมประสาน ผลักดันการนำข้อเสนอเชิงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เป็นต้น
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการได้รายงานต่อที่ประชุมว่า 1 ใน 3 ของไรเดอร์จะประสบอุบัติเหตุระหว่างทำงาน โดยร้อยละ 40 ได้รับบาดเจ็บสาหัส และบางรายเสียชีวิต สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการดูโทรศัพท์ขณะเกิดอุบัติเหตุ รองลงมาคือการคุยโทรศัพท์ขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงระบบของการทำงานของไรเดอร์ก็มีส่วนที่ทำให้ไรเดอร์ขับขี่ด้วยความเร็วที่มากขึ้น ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบรมพัฒนาแกนนำเครือข่ายกลุ่มจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ของกทม. ในพื้นที่ 50 เขต เขตละ 2 คน เกี่ยวกับการขับขี่เชิงป้องกัน (Defensive Driving) รวมทั้งได้จัดทำสื่อในการสื่อสารเพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งได้มีการติดตามประเมินผลการขับขี่ปลอดภัยใน 3 ด้าน คือ ความรู้ ทัศนคติ และการนำไปใช้ประโยชน์ และจะได้จัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป
ที่ประชุมเห็นว่าเรื่องของการสื่อสารไปยังไรเดอร์ควรมีเรื่องของวิธีการใช้โทรศัพท์อย่างไรให้ปลอดภัยด้วย เนื่องจากไรเดอร์ยังจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์มือถืออยู่ และเป็นเครื่องมือสำคัญ ดังนั้นสื่อประชาสัมพันธ์ควรมีการสื่อสารในเรื่องนี้เป็นหลัก และควรหารือให้ผู้ประกอบการออกมาตรการให้ไรเดอร์มีอุปกรณ์ติดตั้งโทรศัพท์มือถือกับมอเตอร์ไซค์ด้วย
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน