หน้าแรก > สังคม > ข่าวที่น่าสนใจ
วันที่ 3 มกราคม 2566 เวลา 20:36 น.
วันที่ 3 ม.ค. 2566 การประชุมผู้บริหาร กทม. ครั้งแรกของปี 66 ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร กรุงเทพฯ
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร
"ฟุตบาท" ย้ำทุกเขตกวดขันระเบียบหาบเร่-แผงลอย ยึดคนเดินถนนเป็นหลัก
ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ในส่วนของเรื่องทางเท้าและหาบเร่-แผงลอย จะเห็นว่าเมื่อนักท่องเที่ยวกลับมา เศรษฐกิจดีขึ้น ก็มีแรงจูงใจให้คนออกมาขายของบนทางเท้ามากขึ้น ก็เน้นย้ำทุกเขต ไม่ผ่อนปรนในมาตรการนี้ ต้องยึดคนเดินถนนเป็นหลัก ให้เข้มงวดกวดขันให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยจุดที่มีการผ่อนผันก็ต้องมีการกำชับดูแลไม่ให้เกิดความสกปรกรกรุงรัง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องความสมดุลระหว่างปากท้องของประชาชนคนมีรายได้น้อย กับความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมืองและการเดินทางสะดวก
"เรือโดยสารไฟฟ้าฯ" พิจารณาแนวทางเดินเรือคลองผดุงฯ ทำต่อหรือทำอย่างอื่นที่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากขึ้น
ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงการเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษมว่า การเดินเรือคลองผดุงฯ ที่ผ่านมามีผู้โดยสารน้อยมาก แต่ค่าจ้างเดินเรือยังมีอยู่ โดยเรามีค่าใช้จ่ายประมาณ 2.4 ล้านบาท/เดือน มีผู้ใช้บริการเพียง 14,000 คน/เดือน เมื่อคิดเทียบกับปริมาณคนใช้แล้วค่าบริการต่อคนค่อนข้างสูงมาก ประมาณ 171 บาท/คน จะมีการพิจารณาว่าจะทำต่อไหม ถ้าทำต่อจะคุ้มค่าไหม หรือเอาเงินที่จ่ายไปทำอย่างอื่นที่คุ้มค่ากว่านี้ได้ไหม อาจเป็นรูปแบบใหม่ที่กระตุ้นให้คนใช้บริการมากขึ้น เช่น Shuttle Bus หรือทำเรื่องท่องเที่ยว จะต้องมีการหารือแนวทางดำเนินการ ซึ่งเป็นเรื่องเหตุและผลว่ามันคุ้มทุนจริงไหม หรือทำให้เสียเงินโดยอาจจะไม่จำเป็น เพราะเส้นทางไม่ได้ผ่านชุมชนมาก ประกอบกับช่วงที่ผ่านมามีสถานการณ์โควิด นักท่องเที่ยวน้อยลง และมีการลดน้ำทำแก้มลิง ส่งผลให้เดินเรือไม่ได้ ดังนั้น หากจะทำต้องดูเรื่องความคุ้มทุนด้วย เนื่องจากเป็นเงินภาษีของพี่น้องประชาชน ทางเราก็ทบทวนรูปแบบอยู่ เพื่อให้ตอบโจทย์และมีความคุ้มค่ามากที่สุด ส่วนสภาพภูมิทัศน์ริมคลองผดุงฯ เข้าใจว่าเป็นเรื่องของการยังไม่ส่งมอบงาน ดังนั้น ผู้รับเหมายังต้องดูแลต้นไม้ ก่อนส่งมอบงานต้องกำชับดูแลต้นไม้ให้ดีก่อน
"คลองโอ่งอ่าง" หารือชุมชนพื้นที่สร้างตลาดคลองโอ่งอ่างอยู่ได้ด้วยตนเองไม่ต้องพึ่งอีเวนต์
สำหรับคลองโอ่งอ่าง เราคงไม่สามารถนำงบประมาณไปจัดอีเวนต์ทุกสัปดาห์ได้ตลอด การจะให้ตลาดอยู่รอดได้ต้องมีการหารือร่วมกับชุมชน ให้เป็นตลาดที่ชุมชนช่วยกันจัดการดูแล อาจมีปัญหาเรื่องความขัดแย้งของชุมชนในพื้นที่บ้าง แต่สุดท้ายต้องเป็นตลาดที่อยู่ได้ด้วยตนเอง มีสินค้า มีกิจกรรมที่ดึงดูดคนเข้าไปได้ หากต้องนำงบประมาณไปจัดอีเวนต์ทุกครั้ง ก็จะไปไม่รอด ตลาดหลายแห่งต้องอยู่ด้วยเนื้อหาและอัตลักษณ์ของตัวเอง ซึ่งทางชุมชนและคนรอบข้างต้องพยายามสร้างตรงนี้ด้วยกัน ได้ให้รองผู้ว่าฯ ศานนท์ ดูแลอยู่” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าว
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน