วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 เวลา 22:41 น.
"ตุลา" สามารถยืนพยุงตัว 4 ขาด้วยตัวเองได้แล้ว ทีมสัตวแพทย์ดูแลใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) ภายใต้การกำกับของกลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ขอรายงานผลการปฏิบัติงาน (รักษาและอนุบาลลูกช้างป่าตุลา) ประจำวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 ช่วงเย็น
โดยศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) ร่วมกับสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ประจำส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) เจ้าหน้าที่จากศูนย์แก้ไขปัญหาช้างป่าฯ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำการรักษาและดูแลลูกช้างป่า "น้องตุลา" ที่มีอาการป่วยจากโรคเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้างและขาหลังขวาเจ็บ ดังนี้
"ตุลา" สามารถยืนพยุงตัว 4 ขาด้วยตัวเองได้ ท้องอืดน้อยลง สามารถปัสสาวะได้ แต่ยังต้องกระตุ้นอุจจาระ มูลเป็นครีมเหลวสีเหลือง ไม่พบอาการลิ้นบวม ลิ้นมีสีชมพู ทำการวัดอุณหภูมิร่างกายได้ 37 องศาเซลเซียส สัตวแพทย์ให้สารน้ำผสมน้ำตาลกลูโคส ยารักษาการติดเชื้อเข้าทางหลอดเลือดดำ ทำการประคบเย็น ตามด้วยประคบร้อนบริเวณหัวเข่าของขาหลังขวาที่บวม ผลการตรวจเลือดพบว่ามีค่าเอนไซม์เกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากกล้ามเนื้อและกระดูกได้รับบาดเจ็บ (ค่าครีเอทีนไคเนสและค่าอัลคาไลน์ฟอสฟาเตสสูง) และมีค่าอัตราส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสต่ำกว่าปกติสำหรับค่าเลือดอื่นๆ นั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทำการเก็บตัวอย่างเลือด สวอปช่องปากและสวอปทวารหนัก เพื่อตรวจหาเชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัสตามแผนที่ได้วางไว้ ผลเป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป ทั้งนี้ทีมพี่เลี้ยงและสัตวแพทย์ ได้เฝ้าระวังอาการของตุลาอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
เครดิต เพจ NuNa Silpa-archa
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน