วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 เวลา 16:31 น.
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยประเทศไทยยังมีค่าดัชนีความร้อนสูงเกิน 40 องศาเซลเซียสในหลายพื้นที่อาจทำให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงและผู้ที่ต้องอยู่กลางแจ้งเกิดฮีทสโตรกได้ แนะดื่มน้ำมากๆ หากจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้ง ควรเลี่ยงสวมชุดสีเข้ม พักเข้าที่ร่มเป็นระยะ และหากมีอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียน อ่อนเพลีย ตัวร้อนแต่เหงื่อไม่ออก ให้รีบเข้าที่ร่ม ดื่มน้ำมากๆ เช็ดตัวระบายความร้อน
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในปีนี้ ประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่มีคลื่นความร้อน (Heat Wave) และอุณหภูมิร้อนถึงร้อนจัด หลายจังหวัดมีค่าดัชนีความร้อนเกิน 40 องศาเซลเซียส อาจทำให้เกิดโรคลมร้อน หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) ได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็กหญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน ควรอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ส่วนผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง หากอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน มีโอกาสเกิดฮีทสโตรกได้เช่นกัน ดังนั้น หากต้องทำงานกลางแจ้ง ควรเลี่ยงการสวมชุดที่มีสีเข้ม เนื่องจากจะดูดซับความร้อนได้ดี ดื่มน้ำมากๆ และสลับเข้าพักในที่ร่มเป็นระยะ เช่น ทุก 30 นาที หรือทุกชั่วโมง
ทั้งนี้ อาการของโรคฮีทสโตรก ได้แก่ วิงเวียน อ่อนเพลีย ร่างกายมีความร้อนเพิ่มขึ้น เหงื่อไม่ค่อยออกผิวร้อน แดง แห้ง หากเริ่มมีอาการให้รีบเข้าที่ร่มหรือห้องที่มีความเย็น และดื่มน้ำมากๆ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าและสะโพกสูง คลายเสื้อผ้าให้หลวม/ถอดเสื้อผ้าออกเท่าที่จำเป็น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว ซอกคอ รักแร้ และศีรษะ ร่วมกับใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล หรือโทรแจ้งสายด่วน 1669
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน