วันที่ 17 เมษายน 2566 เวลา 09:14 น.
วันที่ 17 เมษายน 2566 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อัพเดตสถานการณ์โรคโควิด-19 และสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทย ว่า โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่พบในประเทศไทย ระหว่าง 1 ก.พ.-16 เม. ย.2566
หน่วยงานไทยทั้งภาครัฐและเอกชนได้ช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของโควิด-19 และอัพโหลดแชร์บนฐานข้อมูลโควิดโลก “จีเสด (GISAID)” จำนวนทั้งสิ้น 410 ตัวอย่าง ในช่วง 2 เดือนครึ่ง (1 ก.พ.-16 เม. ย.2566) ที่ผ่านมา โดยมีโอมิครอน 12 สายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทยเรียงตามลำดับมีดังนี้
BN.1.3 68 ราย (22%)
BN.1.2 59 ราย (19%)
XBB.1.5 45 ราย (15%)
XBB.1.9.2 22 ราย (7%)
XBB.1.9.1 20 ราย (7%)
BN.1.2.3 19 ราย (6%)
CH.1.1 18 ราย (6%)
BN.1.3.6 17 ราย (6%)
BN.1.1 12 ราย (4%)
EJ.2 9 ราย (3%)
XBB.1.16 8 ราย (3%)
BA.2.75 8 ราย (3%)
โดยพบโอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 จำนวน 8 ราย และหนึ่งในแปดพบว่ามีการกลายพันธุ์เพิ่มเติมเป็น XBB.1.16.1
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ได้ทำการวิเคราะห์จากรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบว่าโอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่า BN.1.3 ประมาณ 148% และเหนือกว่า XBB.1.5 ประมาณ 90% คาดว่าจะเข้ามาแทนที่ BN1.3 และ XBB.1.5 ได้ภายใน 2-3 เดือนจากนี้
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์