วันที่ 12 เมษายน 2566 เวลา 09:54 น.
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนจะไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งทะเลเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ และอาหารทะเลก็เป็นเมนูที่ต้องสั่งมากินเช่นเดียวกัน บางบ้านอาจเลือกซื้ออาหารทะเลสดมาปรุงประกอบที่บ้าน หรือรีสอร์ทที่พัก ทั้งนี้ อาหารทะเลเป็นอาหารสดที่เน่าเสียได้ง่าย ประชาชนควรเลือกซื้ออาหารทะเลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ตลาดที่ได้มาตรฐาน “ตลาดสด น่าซื้อ” ของกรมอนามัย และควรสังเกตอาหารทะเลที่จะซื้อ เช่น ปลา ต้องเลือกปลาที่มีเหงือกสีแดง ไม่เขียวคล้ำ เนื้อแน่น กดไม่บุ๋ม ไม่มีกลิ่นคาว ตาใส ไม่ช้ำเลือดหรือขุ่นเป็นสีเทา การเลือกซื้อปู จะต้องเลือกปูที่ยังไม่ตาย ตาต้องใส และขาต้องติดตัวปูครบทุกขา การเลือกซื้อกุ้ง ต้องมีเนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นคาวเหม็นคล้ายกลิ่นแอมโมเนีย ครีบและหางต้องเป็นมันสดใส หัวกับตัวจะยังติดกันแน่น เพราะกุ้งที่ไม่สด หัวหรือส่วนที่เป็นเปลือกส่วนหัวจะไม่ติดกับตัว สำหรับผู้ที่นิยมกินแมงดา และแมงกะพรุน ต้องระวังในการเลือกซื้อ เนื่องจากแมงดาทะเลมี 2 ชนิด คือ แมงดาจานที่ไม่มีพิษ ส่วนแมงดาถ้วยหรือแมงดาไฟหรือเหรา เป็นแมงดาที่มีพิษ ต้องสังเกตให้ดีว่าเป็นแมงดาที่กินได้หรือไม่ได้ หากแยกไม่ออก ไม่ควรกิน เพราะอาจเสี่ยงได้รับพิษ ส่วนแมงกะพรุนที่กินได้ มี 2 ชนิด คือ แมงกะพรุนหนังและแมงกะพรุนจาน และควรระวังแมงกะพรุนไฟเพราะเป็นแมงกะพรุนมีพิษ
นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวไปต่อว่า เมื่อซื้ออาหารทะเลมาแล้ว หากไม่นำมาปรุงกินทันที ควรล้างทำความสะอาดแยกเก็บใส่ตู้เย็น ที่ช่องแช่แข็ง อุณหภูมิติดลบที่ปรับตั้งได้ หากแช่ในอุณหภูมิ -1 ถึง 1 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการเก็บ ที่เหมาะสม 1-2 วัน เพื่อชะลอการเน่าเสีย ก่อนนำมาปรุงอาหารต้องล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ที่สำคัญเน้นปรุงสุกด้วยความร้อน หลีกเลี่ยงการกินแบบดิบ หรือ สุก ๆ ดิบ ๆ และขอให้
ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลางล้างมือ เพื่อลดความเสี่ยงโรคอาหารเป็นพิษ และอุจจาระร่วง
“ทั้งนี้ กรมอนามัยขอให้ผู้ประกอบการงดใช้วิธีการที่ผิดเพื่อรักษาความสดและชะลอการเน่าเสียของอาหารทะเลด้วยการนำมาแช่สารฟอร์มาลีน ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะสารฟอร์มาลีนเป็นสารที่ห้ามนำมาใส่อาหาร หากกินอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มาลีนไปในปริมาณ 60-90 มิลลิกรัม จะทำให้เป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก ปากและคอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องอย่างรุนแรง กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ปัสสาวะไม่ออก หมดสติ ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้เสียชีวิตเพราะระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลว” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน