วันที่ 6 มีนาคม. 2568 เวลา 12:01 น.
สืบเนื่องจากจากกรณีที่นักท่องเที่ยวชาวจีนถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้ไปทำงานประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในความปลอดภัยและภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก
ต่อมาวันที่ 5 มี.ค. 2568 พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ได้มอบหมาย พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รอง ผบช.ก. เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวจีน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชนไทย และผู้แทนฝ่ายจีนร่วมประชุม ดังนี้
ผู้แทนฝ่ายไทย ได้แก่
1.นายเชาว์ชัย เจียมวิจิตร ประธานคณะอนุกรรมการค้าชายแดนและค้าข้ามแดน ด้านจีนตอนใต้ และ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
2. นางสาวนันท์นภัส อนันต์เมธาภัทร์ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการค้าชายแดนและค้าข้ามแดน ด้านจีนตอนใต้
3. หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสมาคมนักธุรกิจไทยในจีนตะวันตกเฉียงใต้ และ ประธานกรรมการ Yunnan Diamiao E-Commerce Co., Ltd.
3. นางสาวสุพิศ ลักษณะชู ผู้ช่วยประธานและกรรมการคณะอนุกรรมการค้าชายแดนและค้าข้ามแดน ด้านจีนตอนใต้ และ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
4. นายชัย อรุณานนท์ชัย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.)
5. นายสัญญาพุฒิ เกิดบัณฑิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.)
6. นายคมสรรค์ วิจิตรวิกรม ที่ปรึกษากิติตมศักดิ์สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.)
7. นายวัศน์พล อรรถพรธนเสฐ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย และ ประธานชมรมมัคคุเทศก์ภาษาจีน
ผู้แทนฝ่ายจีน ได้แก่
1. Mr. Zhong Li จาก Chaiman, Dingling Group Co., Ltd.
2. Mr. Chen Yang จาก General Manager, Dingling Group Co., Ltd.
3. Mr. Wang Zonglan จาก General Manager, Yunnan Walking Time Culture Communication Co., Ltd. และ General Manager, Yunnan Maggeanxin Tourism Development Co., Ltd.
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ได้มีการเน้นย้ำว่าประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดย พล.ต.ต.โสภณฯ มีการกล่าวถึงข้อเท็จจริงกรณีข่าวดาราจีนที่หายตัวไป และมีการโจมตีถึงความปลอดภัยของประเทศไทยว่ากรณีดังกล่าวเป็นการใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านในการเดินทางออกนอกประเทศผ่านช่องทางธรรมชาติ โดยต้นเหตุและปลายทางของการก่ออาชญากรรมไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยแต่อย่างใด
นอกจากนี้ยังมีมาตรการดูแล ป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภท โดยที่ประชุมมีการสรุปมาตรการที่สำคัญดังนี้
1. ตรวจเข้มทุกเส้นทาง มีการสั่งการ บก.ทล. ร่วมมือกับตำรวจท้องที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งจุดตรวจจุดสกัด รวมถึงมอบหมายให้ บก.ปคม. ร่วมคัดกรองบริเวณพื้นที่เสี่ยง เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมายทุกรูปแบบ พร้อมประสานงานล่ามแปล และสถานทูตในการคัดกรองข้อมูล
2. ปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และทางการจีนอย่างต่อเนื่องใกล้ชิด เพื่อตัดวงจรแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และช่วยเหลือชาวจีนที่ถูกหลอกลวง
3. ยืนยันไม่มีกรณีซื้อขายอวัยวะ จากการตรวจสอบเบื้องต้น ไม่พบหลักฐานหรือได้รับแจ้งกรณีซื้อขายอวัยวะที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
4. แก้ปัญหาไกด์เถื่อน เร่งหารือเพื่อจัดการปัญหาไกด์เถื่อนที่ส่งผลต่อคุณภาพการท่องเที่ยว และร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยว สร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) พร้อมให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการปฏิบัติกับทุกภาคส่วน ในการป้องกันและปราบปรามปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยอย่างเต็มที่ต่อไป
31 มีนาคม. 2568
31 มีนาคม. 2568