วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 20:54 น.
26 กุมภาพันธ์ 2568 โลกออนไลน์ แชร์ภาพของผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ในกลุ่มพวกเราคือผู้บริโภค พร้อมภาพอาหารและระบุข้อความว่า “เมื่อคืนผมสั่งข้าวผัดกากหมูมากิน แล้วทางร้านไม่ตรวจดูให้ดี คนทำอาหารใส่สารกันชื้นมาด้วย ผมกินข้าวแล้วใส่ผงมาม่าไปด้วยเพราะข้าวมันจืด ผมกินไปมันมีความรู้สึกเหมือนกินเม็ดทราย ผมคิดว่าเป็นผงมาม่า กินไปครึ่งกล่องแล้วผมเห็นเม็ดใสๆ เลยรู้ว่าเป็นเม็ดกันชื้น โทรถามร้านแล้วร้านยอมรับว่าคนทำใส่ไปจริงๆ มันเป็นกันชื้นของกากหมู เมื่อตอนตี 5 ผม คลื่นไส้ไม่สบายท้อง แล้วไปหาหมอมาแล้ว ผมสามารถทำอะไรกับร้านค้าได้บ้างครับ”
หลังจากผู้โพสต์เผยแพร่เรื่องราวนี้ พบว่ามีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยหลายคนแนะนำให้นำผลตรวจใบรับรองแพทย์ เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับร้านค้า รวมไปถึงผู้มีความรู้ด้านกฎหมาย ก็แนะนำว่ากรณีนี้สามารถดำเนินการทางกฎหมายและเรียกร้องค่าเสียหายได้ โดยพิจารณาดังนี้
ด้าน นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ให้ความรู้ด้านสุขภาพผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า เห็นข่าวที่คนกินข้าวผัดกากหมูแล้วเจอเม็ดใสๆ สุดท้ายร้านก็ยอมรับนะครับ ว่าพลาดทำสารกันชื้นหลุดเข้าไป คำถามต่อมาคือแล้วถ้าเผลอกินสารกันชื้นมันอันตรายไหม แล้วถ้ากินเข้าไปต้องทำยังไง
1. อย่างแรกเลยต้องรู้ก่อนนะว่าสารกันชื้นคืออะไร แล้วมันมีไว้ทำไม
สารกันชื้น หรือที่เราชอบเห็นเป็นซองเล็ก ๆ จะอยู่ในถุงขนมบ้าง อาหารแห้งพวก แคบหมู กากหมู กล้วยทอดบ้าง หรือกล่องรองเท้าเองก็ตาม จริง ๆ แล้วมันคือสารที่ช่วยดูดความชื้น ไม่ให้อาหารหรือของใช้เสียเร็วขึ้น ถ้าความชื้นเยอะ อาหารอาจขึ้นรา หรือขนมไม่กรอบเหมือนเดิม
ประเภทของสารกันชื้นที่เราเจอบ่อย ๆ
2. สารกันชื้นอันตรายไหม? ถ้าใส่ผิดที่หรือกินเข้าไปจะเป็นอะไรหรือเปล่า
โดยปกติ เราคงจะพลาดแค่จับหรือสัมผัสสารกันชื้นเฉย ๆ ก็ไม่เป็นไร เพราะมันไม่ได้ปล่อยสารพิษอะไรออกมา แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นถ้าพลาดกินเข้าไป มันก็เกิดผลเสียตามมาได้นะครับ ตั้งแต่ผลเสียเล็ก ๆ จนไปถึงอันตรายเลยนะ ขอยกตัวอย่างที่เจอในอาหารนะ ก็คือซิลิกาเจล ไม่เป็นพิษ แต่อาจทำให้ระคายเคือง หรือคลื่นไส้ อาเจียนแบบที่เป็นในข่าวได้ หรือถ้ากลืนเม็ดใหญ่ ๆ อาจติดคอหรือทำให้สำลักได้ ถ้าดันเผลอตกใส่ไปในตอนที่ทำอาหาร หรือผ่านความร้อนสูง ๆ อาจปล่อยก๊าซระคายเคืองออกมา
3. ถ้ากินสารกันชื้นเข้าไปต้องทำยังไง
ถ้ากินซิลิกาเจล (Silica Gel) เข้าไป อันนี้ต้องรู้ก่อน ไม่เป็นพิษมาก ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อช่วยลดความเข้มข้นซิลิกาเจล และให้ร่างกายขับออก แต่แนะนำว่า ถ้ารู้สึกเจ็บคอ หรือท้องเสีย หรืออาการผิดปกติให้ไปหาหมอ
4. วิธีป้องกันสารกันชื้นปนเปื้อนในอาหาร
สรุปจากข่าวนี้นะ สารกันชื้นมันเป็นเรื่องที่ต้องระวังนะครับ ถ้าเราพลาดกินแล้ว มีอาการผิดปกติอันนี้รีบไปหาหมอ และอย่าลืมระวัง ป้องกันนะครับ เช็กให้ดีว่าไม่มีซองกันชื้นปนอยู่ก่อนทำอาหาร และเก็บให้ห่างจากเด็ก อันนี้มันเกิดขึ้นได้กับทุกคนนะครับ อย่าลืมแชร์ไปให้เพื่อนอ่านนะ ใครมีคำถามหรือสงสัยตรงไหน คอมเมนต์ได้เลยนะครับ
19 เมษายน 2568
19 เมษายน 2568
19 เมษายน 2568
19 เมษายน 2568