วันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16:54 น.
งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) หรือ งานวัดภูเขาทอง มีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 8 - 17 พฤศจิกายน ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
กิจกรรมภายในงาน สัมผัสประเพณีวัฒนธรรมไทย 4 ภาค รื่นเริงความสนุกสนาน เกมส์งานวัด ชิงช้าสวรรค์ การแสดงดนตรีลูกทุ่งย้อนยุค ตื่นตากับสุดยอดการแสดงศิลปวัฒนธรรมของไทย แต่งชุดไทย เดินเกี่ยวตลาดย้อนยุควิถีชาวสยาม ลอยประทีปเทียนหอมบูชาพระพุทธเจ้าน้อย การออกร้านค้าชุมชน ช้อปของกินอาหารอร่อยมากมาย
ตระการตาไฟประดับกว่าล้านดวง
โดย "ประเพณีห่มผ้าแดง" ประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ความหมายของ "การห่มผ้าสีแดง" ให้กับองค์พระบรมสารีริกธาตุ ภูเขาทอง เนื่องจาก "สีแดง" ตามความเชื่อโบราณ คือ "สีแห่งความเป็นมงคล" และยังมีความเชื่อที่ว่า ผู้ที่เขียนชื่อ และนามสกุล ลงบนผ้าสีแดง แล้วนำผ้านั้นไปห่มพระบรมสารีริกธาตุ จะได้รับความเป็นสิริมงคล ทำให้เกิดความ ร่มเย็นเป็นสุข มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต แคล้วคลาดปลอดภัย จากอันตราย ต่างๆ
"วัดสระเกศ-ราชวรมหาวิหาร" หรือ "วัดสระเกศ" เป็นพระอารามหลวงชั้นโท วัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดสะแก" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสระเกศ"
บรมบรรพต (ภูเขาทอง) สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัส บนยอดมีเจดีย์เหลืองอร่ามประดิษฐานอยู่ จำลองแบบมาจากพระเจดีย์ของวัดภูเขาทองใ นพระนครศรีอยุธยา และ เมื่อปี 2422 รัฐบาลอินเดียได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งขุดได้จากเนินพระเจดีย์เก่า ที่เมืองกบิลพัสดุ์ "วัดสระเกศ" ถือเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ใครไปมีสิ่งที่ไม่ควรพลาด นั้นคือ การขึ้นไปกราบนมัสการปิดทอง พระบรมสารีริกธาตุที่ชั้นบนสุดของภูเขาทอง
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน