วันที่ 6 ตุลาคม 2567 เวลา 11:53 น.
วันนี้ (6 ต.ค. 67) เวลา 11.00 น. ปภ. รายงานมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม อุบลราชธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา รวม 76 อำเภอ 337ตำบล 1,561 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 34,373 ครัวเรือน
ส่งเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย ระบายน้ำออกจากพื้นที่ พร้อมดูแลให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงเร่งฟื้นฟูพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายให้กลับคืนสู่สภาพปกติอย่างต่อเนื่องและเต็มกำลัง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่าในระหว่างวันที่ 16 ส.ค. – 6 ต.ค. 67 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 42 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ หนองคาย นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง และสตูล
รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 260 อำเภอ 1,109 ตำบล 5,847 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 207,851 ครัวเรือน
มีผู้เสียชีวิตรวม 49 ราย และได้รับบาดเจ็บรวม 28 คน ซึ่งปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม อุบลราชธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา รวมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 76 อำเภอ 337 ตำบล 1,561 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 34,373 ครัวเรือน
-ภาคเหนือ รวม 9 จังหวัด 34 อำเภอ 119 ตำบล 544 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,625 ครัวเรือน
1) เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองฯ อ.แม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า อ.เวียงชัย และ อ.เชียงแสน รวม 17 ตำบล 80 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,046 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2) เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่ริม อ.ดอยหล่อ อ.หางดง อ.สันป่าตอง อ.แม่แตง อ.เมืองฯ และ อ.สารภี รวม 34 ตำบล 183 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 96 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
3) ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.ป่าซาง รวม 6 ตำบล 51 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 594 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
4) ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่พริก อ.เถิน และ อ.เมืองฯ รวม 5 ตำบล 18 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 458 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
5) ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก รวม 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,547 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
6) พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองฯ อ.บางกระทุ่ม อ.วังทอง อ.นครไทย และ อ.วัดโบสถ์ รวม 27 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,749 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
7) เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.น้ำหนาว อ.เมืองฯ และ อ.หนองไผ่ รวม 6 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 115 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
8. สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง และ อ.เมืองฯ รวม 15 ตำบล 51 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,940 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
9) นครสวรรค์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมืองฯ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 70 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 7 จังหวัด 23 อำเภอ 83 ตำบล 351 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,077 ครัวเรือน
1) อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สร้างคอม รวม 8 ตำบล 37 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 383 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2) กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ยางตลาด อ.หนองกรุงศรี อ.ท่าคันโท อ.สหัสขันธ์ อ.ฆ้องชัย รวม 12 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 68 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
3) ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.คอนสวรรค์ และ อ.จัตุรัส รวม 12 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 71 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
4) มหาสารคาม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.กันทรวิชัย อ.โกสุมพิสัย อ.เชียงยืน และ อ.นาเชือก รวม 33 ตำบล 222 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 83 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
5) นครราชสีมา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.โชคชัย อ.จักราช และ อ.ขามสะแกงแสง รวม 11 ตำบล 19 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 261 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
6) บุรีรัมย์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.นางรอง อ.ชำนิ และ อ.หนองกี่ รวม 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
7) อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมืองฯ และ อ.สว่างวีระวงศ์ รวม 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 190 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- ภาคกลาง รวม 4 จังหวัด 19 อำเภอ 135 ตำบล 666 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 24,671 ครัวเรือน
1) สิงห์บุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.อินทร์บุรี และ อ.เมืองฯ รวม 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 66 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
2) สุพรรณบุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.เดิมบางนางบวช อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง อ.ด่านช้าง อ.หนองหญ้าไซ อ.ศรีประจันต์ และ อ.สามชุก รวม 26 ตำบล 86 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,594 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
3) อ่างทอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ไชโย และ อ.เมืองฯ รวม 10 ตำบล 32 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 463 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
4) พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.บางไทร และ อ.บางปะหัน รวม 96 ตำบล 543 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 22,548 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA รถบรรทุกเล็ก รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว เรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ เข้าให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย
รวมถึงนำรถขุดตักไฮดรอลิคยกสูง รถตักล้อยางเอนกประสงค์ รถขุดล้อยางกู้ภัยปรับฐานล้อ รถตีนตะขาบ รถบรรทุกเทท้าย รถขุดตักไฮดรอลิคแขนยาว เร่งขุดตักขนย้ายดินโคลน เศษวัสดุ สิ่งปรักหักพัง พร้อมทั้งปรับเกลี่ยถนน เส้นทางสัญจร ฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือนในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รายงานเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง และปักหลักช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลังจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
โดยประชาชนสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์ ข่าวสารสาธารณภัย ได้ทาง Facebook กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM และ X @DDPMNews ติดตามการประกาศแจ้งเตือนภัยได้ทางแอปพลิเคชัน “Thai Disaster Alert” ทั้งระบบ IOS และ Android และหากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน