หน้าแรก > สังคม

“ดีอี” เตรียมปรับปรุงกฎหมาย ยึดทรัพย์มิจฉาชีพ เผย 3 ต.ค. เริ่มระบบ คนซื้อต้องได้ดูสินค้าก่อนจ่ายเงิน

วันที่ 23 กันยายน 2567 เวลา 14:41 น.


ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา มีการพูดคุยกันถึงเรื่องฉ้อโกงออนไลน์ เพราะหลอกลวงกันเป็นจำนวนมาก และทุกคนล้วนมีประสบการณ์บแก๊งมิจฉาชีพ

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกฯ และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ได้มีการชี้แจงเรื่องดังกล่าว หลังจากที่ประชุมมีการพูดคุยกัน โดยกล่าวว่า การดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมา คดีต่างๆของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประเภทคดีสูงสุด 5 ประเภท ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ หลักๆ คือ

  • หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการคิดเป็น 29.73% คือการซื้อสินค้าไม่ตรงปก
  • การหลอกลวงหารายได้พิเศษคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.44 %
  • การหลอกลวงการลงทุนทางระบบคอมพิวเตอร์ คิดเป็น16 % แต่มูลค่าความเสียหายจำนวนมาก รวมถึงการหลอกลวงที่เรียกว่าโรแมนซ์สแกม คือหลอกให้หลงรักก่อนแล้วชวนให้ลงทุนต่อ
  • การหลอกลวงโอนเงินเพื่อให้รับรางวัล 7 %
  • หลอกให้กู้เงิน 7 % และ 6.คดีอื่นๆ 14 %

สำหรับการหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการคิดเป็น 29.73% คือการซื้อสินค้าไม่ตรงปก ขณะนี้กระทรวงดีอี ทำงานร่วมกับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค และได้ออกมาตรการ COD ขึ้นมา นับตั้งแต่วันที่ 3 ต.ค. 67 เรื่องการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ผู้ขายจะได้รับเงินต่อเมื่อผู้ซื้อได้ดูสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีการชะลอการจ่ายเงินเป็นเวลา 5 วัน ฉะนั้น มาตรการนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการหลอกลวงได้ในระดับที่มีนัยยะ เนื่องจากคดีนี้สูงสุด แต่มีความเสียหายไม่มากนัก

“ยอมรับว่าคดีมีอยู่ 5 แสนกว่าเรื่อง ขณะนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) รับดำเนินคดีได้ 6 หมื่นเรื่อง ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ ผมจะรับข้อเสนอนี้ไปทำการปรับปรุงเพื่อทำอย่างไรให้คดีมีความคืบหน้าและประชาชนสามารถติดตามสถานะของบัญชีได้ว่าขณะนี้เรื่องที่ร้องไปตร. สถานะคดีเป็นอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ กระทรวงได้จัดตั้งศูนย์เอโอซี 1441 เป็นศูนย์ที่บริการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันประชาชนที่ถูกหลอกลวง สามารถติดตามสถานะของท่านได้ที่ 1141 เราจะติดตามให้”นายประเสริฐ กล่าว

นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า ส่วนการปรับปรุงกฎหมายขณะนี้มีกฎหมายหลายฉบับ ที่มีอายุครบ 5 ปี และจำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายให้เกิดขึ้นโดยเฉพาะเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรฐานความปลอดภัยด้านไซเบอร์และโทษต่างๆ ตนคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องปรับปรุง รวมถึงได้พูดคุยกับ ปปง. ในเรื่องการเพิ่มมูลฐานความผิด การกระทำความผิดที่เกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน เกี่ยวกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต่อไปจะเป็นมูลฐานความผิดหนึ่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งหมายถึงการนำไปสู่การที่เราสามารถยึดทรัพย์กลุ่มมิจฉาชีพต่างๆ ได้

ข่าวยอดนิยม


ข่าวยอดนิยม