หน้าแรก > สังคม

วัดโพธิ์เผือก ร่วมกับ มจพ.และ กฟผ.เปิดใช้เตาเผาศพอัจฉริยะ ประสิทธิภาพสูง ต้นแบบการลดมลพิษ pm 2.5 จ.นนทบุรี

วันที่ 20 กันยายน 2567 เวลา 05:22 น.


วัดโพธิ์เผือก ร่วมกับ มจพ.และ กฟผ.เปิดใช้เตาเผาศพอัจฉริยะ ประสิทธิภาพสูง ต้นแบบการลดมลพิษ pm 2.5 จ.นนทบุรี

จากกรณีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม ได้รับปัญหาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเขม่าควันและกลิ่นจากการเผาศพ เนื่องจากบางวัดที่เตาเผาไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้เกิดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซ ซัลเฟอร์ใดออกไซด์ และขี้เถ้าจากการเผาไหม้ เชื้อเพลิง จากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์หรือ อุณหภูมิไม่สูงพอ จึงส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป  ล่าสุดวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม เรื่องกำหนดให้เตาเผาศพเป็นแหล่ง กำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้ง อากาศเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565

วันที่ 19 ก.ย. 67  ที่วัดโพธิ์เผือก อ.บางกรวย จ.นนทบุรี พระครูปลัดนนท์ กิตติปัญฺโญ (บุญแพ) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เผือก ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดใช้เตาเผาศพอัจฉริยะแห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้โครงการวิจัยพัฒนาต้นแบบเตาเผาศพอัจฉริยะ ประสิทธิภาพสูง  ลดมลพิษ เป็นมิตรกับชุมชน โดยใช้เมรุ วัดโพธิ์เผือก อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เป็นวัดต้นแบบ เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณค่าฝุ่น pm2.5 ในพื้นที่ อ.บางกรวย มีค่าสูงถึงจุดสีแดง

ศาสตราจารย์ ดร.สมรัฐ เกิดสุวรรณ หัวหน้าคณะนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มจพ. เปิดเผยว่า เตาเผาศพอัจฉริยะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน ที่ช่วยลดมลภาวะก๊าซเรือนกระจกในภาพของประเทศ และลดโลกร้อน ปัจจุบันเตาเผาศพตามวัดต่าง ๆ ต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้เตาเผาศพเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่ต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2565 หากเตาเผาศพของวัดที่ยังไม่มีระบบบำบัดมลพิษ สามารถปรับปรุงให้สามารถควบคุมมลพิษได้อย่างอัตโนมัติ และใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากช่วยชุมชนโดยรอบวัดแล้ว ยังเป็นการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชาติด้วย

ศ.ดร.สมรัฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ทาง มจพ.ได้รับทุนวิจัยจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เพื่อให้วิจัยและพัฒนาเตาเผาศพที่มีประสิทธิภาพสูง อัจฉริยะ ลดมลพิษ และเป็นมิตรต่อชุมชน โดยการติดตั้งตัวเตาเผาศพต้นแบบ ให้กับทางวัดโพธิ์เผือก และมีการดำเนินการวิจัยและทดสอบขยายผล ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนหลังการขยายผล เตารุ่นเก่ามีผลดระทบเรื่องค่าใช้จ่ายสูงและมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องของควันดำและกลิ่นเหม็น เตาอัจฉริยะตัวนี้ถูกพัผมนาให้มีการเผาใหม่ด้วยประสิทธภาพอย่างสมบูรณ์ ประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายในการใช้งาน โดยการติดตั้งตัวขดลวดไฟฟ้าในตัว มีการวัดค่าสัญญาณจากตัวไอเสียให้มีการวัดค่าให้สมบูรณ์ โดยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เตาแบบเดิมใช้เวลาในการเผาศพประมาณ 2 ชม. ส่วนเตาอัจฉริยะใช้เวลา 1 ชม. สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 30% จากเดิม 2,000 บาทจะเหลือประมาณ 1,500 บาท ส่วนมลพิษจากฝุ่น pm2.5 จะไม่ปล่อยออกมา จะปล่อยเป็นควันสีใสออกมา และเตารุ่นเก่าสามารถเปลี่ยนมาใช้ระบบอัจฉริยะได้ิโดยเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม 100,000 ถึง 200,000 บาท ซึ่งโครงการนี้สามารถขยายไปตามวัดอื่นๆได้ถ้าสนใจสามารถติดต่อมาที่ มจพ.และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้ โดยทางวัดต้องมีไฟฟ้าเพียงพอในการรองรับ สำหรับโครงการนี้ใช้เวลาในการดำเนินการมาแล้วประมาณ 1-1.5 ปี จึงสามารถผลิตเตาต้นแบบออกมา ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านบาทคือเตาใหม่แบบต้นแบบ และถ้ามีการขยายผลผลิตมากขึ้น ราคาอาจจะน้อยลง

นายสมศักย์ ปรางทอง ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการด้านการใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการนี้ถือเป็นนโยบายในการพัฒนา นวัตกรรม ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตสนับสนุนเรื่องเตาเผา เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่มาจากสาเหตุภาวะโลกร้อน และภาวะฝุ่น pm2.5 ที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ทุกปี ทางการไฟฟ้าจึงคิดว่าทำยังไงถึงให้ ชุมชนและสังคม สามารถปลอดภัยจากฝุ่นได้ เรื่องการเผาศพถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่ประชาชนใช้อยู่ และอยู่ใกล้กับชุมชน มีความเป็นห่วงเรื่องขวัญและกลิ่น ที่กระทบต่อชุมชนใกล้วัดทำให้เกิดความไม่สบายใจ โครงการนี้จึงตอบโจทย์ให้กับชุมชน ให้อยู่ได้โดยไม่มีฝุ่นและควัน ซึ่งทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีความคาดหวังว่าในอนาคตจะมีวัด ใช้เต่าต้นแบบอัจฉริยะ เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดเรื่องมลภาวะ และช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม

พระครูปลัดนนท์ กิตติปัญฺโญ (บุญแพ) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เผือก กล่าวว่า วันนี้เป็นพิธีเปิดการใช้เทคโนโลยีเตาเผาอัจฉริยะ แห่งแรกของประเทศไทย ที่วัดโพธิ์เผือก โดยร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สร้างเตาเผาอัจฉริยะเป็นเตาแรกของประเทศไทย คือเตาเผารุ่นเก่าจะใช้น้ำมันดีเซลอย่างเดียว ส่วนเตาเผารุ่นใหม่เป็นระบบ hybrid ใช้ไบโอดีเซลกับไฟฟ้า ระยะเวลาการเผาศพเตารุ่นเดิมใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง เตาที่วัดโพธิ์เผือกใช้เวลาแค่ 1 ชั่วโมง น้ำมันที่ใช้จะประหยัดขึ้นเพราะใช้ไฟฟ้าช่วยควบคุมอุณหภูมิในห้องเผาให้มีความคงที่ เตาแบบเดิมต้องใช้น้ำมันฉีดเข้าไปแต่ปัจจุบันใช้ขดลวดไฟฟ้าร่วมในห้องเผา จึงประหยัดพลังงานจากเดิมใช้ 45 ถึง 60 ลิตร เหลือ 30 ถึง 42 ลิตรต่อครั้ง ค่าใช้จ่ายในการเผาศพ เต่ารุ่นเก่าใช้ 2,000-3,000 บาท แต่ของวัดโพธิ์เผือกใช้ไม่เกิน 2,000 บาท การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่อครั้งลดลง เตารุ่นเก่า 162 kg เตารุ่นใหม่เหลือ 105-137 kg และมีระบบการควบคุมด้วยสมองอัจฉริยะ ที่เรียกว่า iot และมีระบบสมองกลช่วยทำการ ถ้าเกิดควันดำมากระบบจะสั่งการเร่งหัวเผาเพื่อเผาควันดำให้หายไป และเตาเผาศพของวัดโพธิ์เผือกเกิดจากความต้องการของญาติโยมจริงๆ ทางวัดจึงสร้างสถานที่เป็นเมรุแรกของวัดโพธิ์เผือก และร่วมมือสร้างเตาเผานี้เป็นเตาเผาแรก ซึ่งระบบ iot มีการบันทึกการแจ้งเตือนต่างๆ อยู่ที่บ้านก็สามารถรับรู้ได้ว่าวันนี้มีเผาศพไหม ใช้เวลาเผานานแค่ไหน สามารถเก็บข้อมูลได้แม้กระทั่งค่าน้ำมันต่อศพ ค่าไฟฟ้าต่อศพ คิดออกมาเป็นแบบreal time แต่ละศพใช้ไม่เท่ากัน เตานี้เริ่มจากไม่มีอะไรเลยก็ต้องสร้างโครงสร้างอะไรขึ้นมาทั้งหมดรวมแล้ว 2.4 ล้านบาท แต่ถ้าวัดไหนเป็นเตาเผารุ่นที่ 3 ก็ปรับปรุงนิดหน่อยก็จะเป็นเตาเผารุ่นที่ 4 เหมือนวัดโพธิ์เผือก ใช้งบประมาณไม่มากประมาณหลักแสน ก็จะได้เตาอัจฉริยะแบบวัดโพธิ์เผือก มาประสานขอความรู้ได้ที่วัดโพธิ์เผือก

พระครูปลัดนนท์  กล่าวว่า วัดโพธิ์เผือกมีเตาศพอัจฉริยะแล้ว เป็นเตาที่เป็นมิตรต่อชุมชน เป็นเตาที่รักษาสิ่งแวดล้อม เกิดจากที่มีกฎหมายออกมาตอนนี้การเผาศพในประเทศไทย เป็นที่ที่ทำให้เกิด PM 2.5 จากการเผาศพด้วย วัดโพธิ์เผือกจึงทำเทคโนโลยีตรงนี้ขึ้นมาเพื่อลด PM 2.5 ให้มากที่สุด ตอนนี้กรมควบคุมมลพิษกำหนดไว้ที่ 7% เท่านั้นที่สามารถให้แต่ละวัดปล่อยควันออกมาได้ แต่วัดโพธิ์เผือกตั้งไว้ที่ 4% เท่านั้น ที่เลือกวัดโพธิ์เผือกเพราะวัดโพธิ์เผือกกำลังสร้างอาคารหลังนี้ซึ่งเป็นเมนหลังแรกของวัด และทำงานเชิงวิจัยอยู่แล้วการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจึงเลือกวัดโพธิ์เผือก เป็นที่เริ่มต้น เริ่มตั้งแต่การติดเครื่องวัด PM 2.5 และวัดโพธิ์เผือกอยู่ใกล้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต บริเวณชุมชนรอบโรงไฟฟ้าเครื่องวัด PM 2.5 มันเคยเป็นสีแดง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจึงคุยกับทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ดูวัดที่อยู่รอบโรงไฟฟ้าก็จะช่วยวัดไหน เพื่อให้ PM 2.5 มันลดน้อยลง เป็นวัดเล็กๆไม่เคยมีเมรุมาก่อนสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ไม่มีสถานที่ในการเผาศพ ที่สร้างนี้เป็นเมรุหลังแรกของวัด ก่อนที่จะสร้างเมรุ จะสร้างศาลาการเปรียญและมีคนแก่คนเฒ่ามาขอว่า โยมไม่อยากไปไหนถ้าจะตายขอตั้งศพที่วัดโพธิ์เผือกและเผาศพที่วัดโพธิ์เผือก ให้พระอาจารย์ช่วยพิจารณาสร้างเมรุได้ไหม อาตมาจึงตัดสินใจสร้างเมรุหลังนี้เป็นหลังแรก จริงๆการเผาไหม้มีควันแน่นอน แต่จะเผาไหม้ยังไงให้มีควันในระยะสั้นและน้อยที่สุด มีความเข้มข้นหรือดำน้อยที่สุดและสั้นที่สุด จึงเกิดการประสานงานในการทำการวิจัยครั้งนี้ขึ้นมา โดยมืออาชีพที่เป็นปรมาจารย์ด้านการเผาขยะ คือศาสตราจารย์ดอกเตอร์สมรักษ์ ศ.ดร. สมรักษ์จึงรับเรื่องนี้จากการไฟฟ้า และพัฒนาเตาเผานี้ให้เป็นเตาเผาแรกของประเทศไทย หวังว่าเตาที่ดีที่สุดในประเทศและเป็นแห่งแรกของประเทศไทยเป็นเรื่องดี แต่จะดีกว่านั้นถ้าสามารถขยายความรู้ขยายเทคโนโลยีนี้ เผยแผ่ไปทั่วประเทศ ให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มี PM 2.5 ที่น้อยลง และให้วัดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัดต้องมีงานวิจัยที่ทำให้วัดมีผลงานมีนวัตกรรมที่ยั่งยืน ที่ควบคู่กับชาวไทยไปอีกนาน

พระครูปลัดนนท์ กล่าวทิ้งท้ายว่า  ที่วัดโพธิ์เผือกมีคนมาติดต่ออย่างต่อเนื่อง มาขอใช้ แต่อยากให้ทุกคนรักษาสุขภาพ จะทำสิ่งที่มีมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง เช่นมีการเผาก็ต้องพัฒนาให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไม่อยากให้โยมมีสุขภาพที่ไม่ดี อย่างไรก็ตามทุกคนต้องใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกิน การทำจิตใจให้สบาย มาเข้าวัดขัดเกลาจิตใจตัวเองก็ได้ วัดโพธิ์เผือกมีเตาอัจฉริยะแล้ว แต่ไม่ต้องการที่จะเผาศพญาติโยมเยอะ ขอให้รักษาสุขภาพ

 

 

 

 

 

 

ข่าวยอดนิยม


ข่าวยอดนิยม