วันที่ 24 สิงหาคม 2567 เวลา 13:15 น.
24 ส.ค. 2567 สรุปสถานการณ์อุทกภัย จังหวัดน่าน ในเมืองน้ำลดแล้วจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ เฝ้าระวังพื้นที่อำเภอเวียงสา
สืบเนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีการแจ้งเตือนสภาพอากาศ พบว่ามีร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมกำลัง ปานกลางจะเลื่อนลงมาพาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเอียงเหนือตอนบน และภาคกลาง โดยให้เฝ้าระวังสถานการณ์ระหว่างวันที่ 16 – 22 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ส่งผลให้พื้นที่จังหวัดน่าน ในห้วงวันที่ 20 –23สิงหาคม 2567 มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยในวันที่ 21 สิงหาคม 2567 เวลาประมาณ 03.00 น. ได้เกิดอุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยมีพื้นที่ ได้รับผลกระทบ จำนวน 11 อำเภอ 65 ตำบล 412 หมู่บ้าน ผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 10,517 ครัวเรือน 23,654 หมู่บ้าน
พื้นที่โซนเหนือ ได้รับผลกระทบ 5 อำเภอ 26 ตำบล 161 หมู่บ้าน และพบผู้เสียชีวิต 3 ราย ได้แก่
- อำเภอเชียงกลาง ได้รับผลกระทบ รวม 6 ตำบล 30 หมู่บ้าน พบผู้เสียชีวิตในพื้นที่ 1 ราย
- อำเภอเฉลิมพระเกียรติได้รับผลกระทบ รวม 1ตำบล 5 หมู่บ้าน
- อำเภอทุ่งช้าง ได้รับผลกระทบ รวม 4 ตำบล 40 หมู่บ้าน
- อำเภอท่าวังผา ได้รับผลกระทบ รวม 10 ตำบล 74 หมู่บ้าน พบผู้เสียชีวิตในพื้นที่ 2 ราย
- อำเภอปัว ได้รับผลกระทบ รวม 5 ตำบล 12 หมู่บ้าน
พื้นที่โซนกลาง ได้รับผลกระทบ 4 อำเภอ 21 ตำบล 123 หมู่บ้าน ได้แก่
- อำเภอบ้านหลวง ได้รับผลกระทบ รวม 4 ตำบล 25 หมู่บ้าน
- อำเภอภูเพียง ได้รับผลกระทบ รวม 5 ตำบล 23 หมู่บ้าน
- อำเภอเมืองน่าน ได้รับผลกระทบ รวม 8ตำบล 67 หมู่บ้าน
- อำเภอบ่อเกลือ ได้รับผลกระทบ รวม 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน
พื้นที่โซนใต้ ได้รับผลกระทบ 2อำเภอ 18 ตำบล 129 หมู่บ้าน ได้แก่
- อำเภอเวียงสา ได้รับผลกระทบ รวม 17 ตำบล 128 หมู่บ้าน
- อำเภอนาน้อย ได้รับผลกระทบ รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน
สำหรับความเสียหายพื้นที่การเกษตร มีพื้นที่ได้รับความเสียหายรวม 10 อำเภอ 62 ตำบล 347 หมู่บ้าน จำนวน 23,346.25 ไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 6,831 ราย รวมประมาณการความเสียหายด้านพืชเบื้องต้น 41,904,744.00 บาท ประกอบด้วย พื้นที่นาข้าว จำนวน 15,473.25 ไร่ ความเสียหายประมาณ 20,734,155.00 บาท , พืชไร่และพืชผัก จำนวน 5,173.75 ไร่ ความเสียหายประมาณ 10,244,025.00 บาท และไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่น ๆ จำนวน 2,699.25 ไร่ ความเสียหายประมาณ 10,926,564.00 บาท
ด้าน นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน มอบหมายให้นายกฤชเพชร เพชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วยหล่ากาชาดจังหวัดน่าน หัวหน้าสำนักงาน ปภ. จ.น่าน และสาขา ลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่ที่ประสบภัยอุทกภัย พร้อมมอบสิ่งของเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ประสบภัย โดยมีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
(1) ให้ฝ่ายทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง จัดชุดปฏิบัติการเร่งให้ความช่วยเหลือด้านการดำรงชีพ แก่ประชาชนที่ประสบภัยตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม โดยอย่าให้เกิดความ ซ้ำซ้อนในการปฏิบัติของแต่ละหน่วยงาน
(2) กรณีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย ให้บูรณากรทุกหน่วยงาน ทั้งหน่วยทหาร ตำรวจ หน่วยงานฝ่ายปกครอง สถาบันการศึกษา ตลอดจนประชาชนจิตอาสา เพื่อจัดทีมช่างในพื้นที่เป็นทีมประชารัฐ และเร่งซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนโดยเร็ว
(3) กรณีเส้นทางคมนาคมถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย จนประชาชนไม่สามารถใช้ ยานพาหนะสัญจรได้ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการคมนาคม จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจร รวมไปถึงแนะนำเส้นทางเลี่ยงที่ปลอดภัยรวมทั้งจัดป้ายแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบ หลังจากนั้นให้เร่งซ่อมแซม เส้นทางที่ชำรุด/ถูกตัดขาด เพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรได้โดยเร็ว
(4) ให้หน่วยงานทางด้านสาธารณสุข ควบคุม กำกับดูแล การแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่อาจมากับสถานการณ์อุทกภัยอย่างทั่วถึง
(5) เน้นย้ำการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในช่วงเกิดสถานการณ์อุทกภัย ผ่านสื่อมวลชน ตลอดจนสื่อแขนงต่าง ๆ และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไข ปัญหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจังหวัดน่านได้ประกาศแจ้งเตือน ให้อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังสถานการณ์ น้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ โดยขอให้ส่วนที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ และกำชับให้ทุกภาคส่วนดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุของหน่วยงาน เตรียมความพร้อมทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือ ยานพาหนะ สรรพกำลังในการให้ความช่วยเหลือประชาชน และเน้นย้ำให้เฝ้าระวังในระหว่างวันที่ 24 – 30 สิงหาคม 2567 ให้เตรียมรับสถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ซึ่งจะทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตก หนักบางพื้นที่ ลักษณะเช่นนี้อาจส่งผลกระทบให้ปริมาณน้ำตามแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสายรอง มีปริมาณ น้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนขยายเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติได้ส่งสัญญาณแจ้งเตือนตามหอเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ดำเนินการอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย โดยมีการส่ง สัญญาณแจ้งเตือนภัยอพยพตามหอเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงเมือเวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 22 สิงหาคม 2567
.
ในส่วนของหน่วยทหาร ตำรวจ อำเภอ อปท. ประชาชนจิตอาสา อาสาสมัคร ภาคเอกชน ดำเนินการ ได้เข้าช่วยเหลือประชนชนในพื้นที่ประสบสาธารณภัย อาทิ การช่วยเหลือเคลื่อนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง การแจกจ่าย อาหาร น้ำ ให้แก่ผู้ประสบภัยที่ติดค้างในที่พักอาศัย และนำเรือเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังจุดปลอดภัย และให้อำเภอเร่งสำรวจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ เป็นไปอย่างทั่วถึง ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ไปแล้วจำนวน 9 อำเภอ 40 ตำบล 126 หมู่บ้าน
นอกเหนือจากนั้นยังได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิ เช่น มูลนิธิกู้ภัยเพชรเกษม เข้าช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมพื้นที่ อ.ทุ่งช้าง อ.ท่าวังผา โดยนำทรัพยากรเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ 2 แห่ง มูลนิธิร่วมกตัญญูเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยนำทรัพยากรเข้าให้ความ ช่วยเหลือประกอบด้วย กำลังคนจำนวน 30 คน เรือกู้ภัยพร้อมเครื่องยนต์ จำนวน 3 ลำ รถยนต์ประกอบอาหาร 1 คัน และมูลนิธิสว่างรวมใจ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งได้ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือ พร้อมโรงครัวประกอบอาหารบริเวณสี่แยกพันตัน อ.เมืองน่าน โดยนำทรัพยากรเข้าให้ความช่วยเหลือ ประกอบด้วย กำลังคนจำนวน 20 คน เรือกู้ภัยพร้อมเครื่องยนต์ จำนวน 2 ลำ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนอากาศยานปีกหมุนในการสำรวจพื้นที่ ประสบภัยพิบัติเพื่อเป็นข้อมูลในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ผลิตอาหารแจกจ่ายจากภาคเอกชน 16,500 ชุดต่อวัน โดยมีรถประกอบอาหาร จาก มทบ.38 มูลนิธิกู้ภัยเพชรเกษม มูลนิธิร่วมกตัญญู และมูลนิธิสว่างรวมใจ กำลังการผลิต จำนวน 1,000 ชุดต่อวัน
ด้านเส้นทางการคมนาคม มีสายทางที่ได้รับผลกระทบ โดยอยู่ในความรับผิดชอบของแขวงทางหลวงน่านที่ 1 ได้แก่
(1) หมายเลขทางหลวง 1169 ตอนเส้นทาง ท่าล้อ-เมืองหลวง น้ำท่วมสูงไม่สามารถสัญจรได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงหมู่บ้านของทางหลวงชนบทแทน (เส้นบายพาส)
(2) เส้นทางการคมนาคมในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองน่าน ยังมีน้ำท่วมขังไม่สามารถสัญจรได้ และสายทางในความรับผิดชอบของแขวงทางหลวงน่านที่ 2
(1) หมายเลขทางหลวง 101 ตอนสี่แยกช้างเผือก - ปัว ระหว่าง กม.386+160 - กม.386+525 พื้นที่บ้านห้วยยื่น ต.บ่อ อ.เมืองน่าน จ.น่าน ระดับน้ำ 39 ซม. สามารถผ่านได้
(2) หมายเลขทางหลวง 101 ตอนสี่แยกช้างเผือก - ปัว ระหว่าง กม.392+725 - กม.392+850 พื้นที่บ้านไร่ไพรวัลย์ ต.บ่อ อ.เมืองน่าน จ.น่าน สามารถผ่านได้
(3) หมายเลขทางหลวง 101 ตอนสี่แยกช้างเผือก - ปัว ระหว่าง กม.398+850 - กม.399+000 พื้นที่บ้านวังหมอ ต.บ่อ อ.เมืองน่าน จ.น่าน สามารถผ่านได้
(4) หมายเลขทางหลวง 101 ตอนสี่แยกช้างเผือก - ปัว ระหว่าง กม.410+450 - กม.411+200
เครดิต ข่าว-สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์