วันที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 16:18 น.
อัพเดทสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน (23 สิงหาคม 2567) ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณสาธาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน วันที่ 20 - 23 สิงหาคม 2567 พื้นที่จังหวัดน่าน มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ เกิดอุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 11 อำเภอ 56 ตำบล 313 หมู่บ้าน น้ำได้ท่วมพื้นที่เขตเศรษฐกิจสูงมาก วัดมิ่งเมือง สถานีขนส่ง วัดพันต้น สี่แยกข่วงเมือง น่าน น้ำท่วมสูง พื้นที่เฝ้าระวังคืออำเภอเมือง โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจน้ำท่วมสูง อำเภอเวียงสา พื้นที่รับน้ำ ต้องเฝ้าระวังมวลน้ำขนาดใหญ่ ขณะที่ฝนตอนเหนือหยุดตกแล้ว
นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านได้มอบหมายให้นายกฤขเพชร เพชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วยเหล่ากาชาดจังหวัดน่าน หัวหน้าสำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน และสาขาลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่ที่ประสบภัยอุทกภัย พร้อมอบสิ่งของเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ประสบภัย
โดยมีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
ให้ฝ่ายทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง จัดชุดปฏิบัติการเร่งให้ความช่วยเหลือด้านการดำรงชีพแก่ประชาชนที่ประสบภัยตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม โดยอย่าให้เกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติของแต่ละหน่วยงาน กรณีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย ให้บูรณาการทุกหน่วยงาน ทั้งหน่วยทหาร ตำรวจ หน่วยงานฝ่ายปกครอง สถาบันการศึกษา ตลอดจนประชาชนจิตอาสา เพื่อจัดทีมช่างในพื้นที่เป็นทีมประชารัฐ และเร่งซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนโดยเร็ว กรณีเส้นทางคมนาคมถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย จนประชาชนไม่สามารถใช้ยานพาหนะสัญจรได้ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการคมนาคม จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจรแนะนำเส้นทางเลี่ยงที่ปลอดภัยรวมทั้งจัดป้ายแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบ หลังจากนั้นให้เร่งซ่อมแชมเส้นทางที่ชำรุด/ถูกตัดขาด เพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรได้โดยเร็ว ให้หน่วยงานทางด้านสาธารณสุข ควบคุม กำกับดูแล การแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่อาจมากับสถานการณ์อุทกภัยอย่างทั่วถึงเน้นย้ำการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในช่วงเกิดสถานการณ์อุทกภัยผ่านสื่อมวลชน ตลอดจนสื่อแขนงต่าง ๆ และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ประกาศแจ้งเตือน ให้อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ โดยขอให้ส่วนที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ และกำชับให้ทุกภาคส่วนดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุของหน่วยงาน เตรียมความพร้อมทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือ ยานพาหนะเพื่อพร้อมรับกับสถานการณ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติ เตรียมความพร้อมในการส่งสัญญาณแจ้งเตือนตามหอเตือนภัยในพื้นที่เสียง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ดำเนินการอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย ให้อำเภอเร่งสำรวจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเป็นไปอย่างทั่วถึง. ประชาชนจิตอาสา อาสาสมัคร ภาคเอกชนเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบสาธารณภัย
นอกจากนี้ มูลนิธิกู้ภัยเพชรเกษม เข้าช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมพื้นพื้นที่ อ.ทุ่งช้าง อ.ท่าวังผา โดยนำทรัพยากรเข้าช่วยเหลือประชาชน ดังนี้ รถยนต์เคลื่อนที่เร็ว รถบรรทุก 8 คัน เรือท้องแบนพร้อมเครื่อง 10 ลำ กำลังพล40 คน รถประกอบอาหารเคลื่อนที่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 2 แห่ง หน่วยทหาร ตำรวจ อำเภอ อปท.
มูลนิธิร่วมกตัญญู เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยนำทรัพยากรเข้าให้ความช่วยเหลือประกอบด้วย กำลังคนจำนวน 30 คน เรือกู้ภัยพร้อมเครื่องยนต์ จำนวน 3 ลำ รถยนต์ประกอบอาหาร 1 คัน มูลนิธิสว่างรวมใจ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งได้ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือพร้อมโรงครัวประกอบอาหารบริเวณสี่แยกพันตัน อ.เมืองน่าน โดยนำทรัพยากรเข้าให้ความช่วยเหลือประกอบด้วย กำลังคนจำนวน 20 คน เรือกู้ภัยพร้อมเครื่อมเครื่องยนต์ จำนวน 2 ลำ
กระทรวงพรัพยากรรรมชาติและสิ่งเวคล้อม สนับสนุนอากาศยานปีกหมุนในการสำรวจพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ ระดับน้ำจากศูนย์อุทกวิทยาชลประทานสถานีตรวจวัด N.64 บ้านผาขวาง อ.เมืองน่าน ระดับน้ำ 10.30 ม. มีแนวโน้มลดลง ส่วนที่สถานีตรวจวัด N.1 บริเวณหน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมืองน่าน ระดับน้ำ 8.49 ม. (มีแนวโน้มลดลง. ส่วนที่สถานีตรวจวัด N.75 สะพานท่าลี่ อ.เวียงสา ระดับน้ำ 7.68 ม. (ระดับตลิ่ง 1.1ม.) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
คาดการณ์สถานการณ์โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง พบว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ในระหว่างวันที่ 24 - 30 สิงหาคม 2567 ลักษณะเช่นนี้อาจส่งผลกระทบให้ปริมาณน้ำตามแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสายรอง มีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนขยายเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น
เส้นทางการคมนาคม ทางหลวง หมายเลข 1169 ตอนเส้นทาง ท่าล้อ-เมืองหลวง นำท่วมสูง รถไม่สามารถสัญจรได้ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงหมู่บ้านของทางหลวงชนบทแทน
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน-ข่าว
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์