วันที่ 8 สิงหาคม 2567 เวลา 12:34 น.
กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดยกองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ร่วมกันจับกุม นายพี (นามสมมุติ) ฉายา แบงค์ ดินแดง อายุ 29 ปี ฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงผู้อื่นและร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นโดยมิได้กระทำต่อประชาชนแต่เป็นการกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง” โดยจับกุมได้บริเวณคอนโดมิเนียม ซอยประชาสงเคราะห์ 20 แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ผู้เสียหายได้รู้จัก กับนายพีผ่านแอปพลิเคชั่นหาคู่ จากนั้นได้กล่าวอ้างกับผู้เสียหายว่า เคยเป็นนักมวย และเป็นเจ้าของกองทุนแห่งหนึ่ง จำนวน 600,000 บาท ต่อมา นายพีให้ผู้เสียหายเพิ่มเพื่อนผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ และพูดคุยสนทนากัน จากนั้นได้ชักชวนผู้เสียหายให้ร่วมลงทุนกับกองทุนดังกล่าว โดยอ้างว่าถ้าถอนเงินออกมาจากกองทุนทั้งหมด จะได้รับเงินปันผลกำไร จำนวน 60,000 บาท แต่จะต้องโอนเงินค่าธรรมเนียมเข้าไปก่อน จึงจะถอนเงินได้ และจะโอนเงินจำนวน 60,000 บาท เข้าบัญชีผู้เสียหายทันที ผู้เสียหายหลงเชื่อ จึงได้โอนเงินไปครั้งแรก เป็นเงิน 2,000 บาท จากนั้นผู้เสียหายทวงถามเรื่องเงินปันผลกำไรกับนายพี แต่ก็ถูกบ่ายเบี่ยง และแจ้งว่าจะต้องโอนเงินเพิ่มอีกจึงจะถอนเงินได้ ผู้เสียหายจึงได้โอนเงินเพิ่มไปอีกเรื่อยๆ ระหว่างวันที่ 2 มีนาคม 2567 ถึงวันที่ 14 มีนาคม 2567 จำนวน 74 ครั้ง ซึ่งรวมเป็นเงินที่เสียหายทั้งหมด 106,254 บาท โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ชื่อนายพี และบัญชีธนาคาร ชื่อนายธี (ผู้ต้องหาที่ 2) ทุกครั้งที่ทวงถาม นายพีก็ได้บ่ายเบี่ยงที่จะโอนเงินปันผลกำไรให้ผู้เสียหายมาโดยตลอด และได้ส่งรูปภาพที่นำมาจากเว็บไซต์อื่นมาหลอกลวงผู้เสียหายว่านำเงินไปดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมกองทุนเรียบร้อยแล้ว
ต่อมา นายพี ได้นัดหมายให้ผู้เสียหายไปพบ เพื่อรับเงินผลกำไรจากกองทุนดังกล่าว เมื่อพบ นายพี ก็ไม่ยอมโอนเงินปันผลกำไรให้ ผู้เสียหายจึงรู้ว่าถูกหลอก จึงบอกกับนายพีว่าจะไปแจ้งความกับตำรวจ นายพีได้พูดท้าทายว่า ไปแจ้งความได้เลย ไม่กลัว มันเป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา มันยอมความกันได้ และอ้างว่าพ่อเป็นตำรวจ ซึ่งในความเป็นจริงพ่อของนายพีไม่ได้เป็นตำรวจตามที่กล่าวอ้าง ผู้เสียหายจึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สน.จระเข้น้อย พนักงานสอบสวนจึงได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขออนุมัติศาล ออกหมายจับ
จนกระทั่งวันที่ 6 สิงหาคม 2567 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม บก.ป. สืบสวนทราบว่า นายพี (นามสมมุติ) หลบหนีไปอาศัยอยู่คอนโดมิเนียม ซอยประชาสงเคราะห์ 20 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมจึงเดินทางไปตรวจสอบ และเฝ้าสังเกตการณ์ ต่อมาพบบุคคลชาย ลักษณะคล้ายตามตำหนิรูปพรรณ เดินอยู่บริเวณหน้าคอนโดดังกล่าว (สถานที่จับกุม) เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมจึงได้แสดงตนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และได้สอบถามชื่อ-นามสกุล พร้อมตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชน ทราบชื่อว่า นายพีเข้าทำการจับกุม นำตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.จรเข้น้อย ดำเนินคดีตามกฎหมาย
นอกจากนี้ ขณะเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังจับกุมนายพี ประชาชนที่พักอาศัยภายในคอนโด ได้เข้ามาชื่นชมและขอบคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม ที่ได้ทำการจับกุมตัวนายพี เนื่องจากมีพฤติกรรม ใช้อุบายหลอกเอาเงิน คนที่อยู่ภายในคอนโดไปทั่ว แต่ไม่มีใครกล้าไปแจ้งความดำเนินคดี เพราะนายพี เป็นอดีตนักมวย และมีกลุ่มเพื่อนเยอะในย่านประชาสงเคราะห์ จึงกังวลเรื่องความปลอดภัย โดยในชั้นจับกุม ผู้ต้องหายอมรับว่า ให้ผู้เสียหายโอนเงินร่วมลงทุนกับกองทุน เข้าบัญชีผู้ต้องหาจริง
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน