วันที่ 29 กรกฎาคม 2567 เวลา 09:22 น.
วันที่ 29 กรกฎาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อ.อ๊อด อาจารย์และนักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แสดงความเห็นกรณีมีการเสนอแนวทางกำจัด ปลาหมอคางดำด้วยการใช้ไซยาไนด์
โดยระบุว่า "ไม่ต้องใช้ไซยาไนด์ หากหมดหนทางกำจัดปลาหมอคางดำจริงๆ ให้ใช้สารสกัดจากธรรมชาติซึ่ง สารสกัดนี้ เป็นยาเบื่อปลา สลายตัวในระยะสั้น สลายตัวเร็วเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาจารย์อ๊อดแนะนำสารสกัดจากสมุนไพรหางไหลแดง ซึ่งมีเยอะมากเป็นตันตันที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะมีสาร สกัดธรรมชาติ ที่ชื่อว่า โรทิโนน (Rotenone)
สารสกัดจากหางไหลแดง ใช้โดยนักชีววิทยาประมงในการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของปลาทะเล ในการสุ่มตัวอย่างขนาดเล็กเพื่อรวบรวมปลาที่เป็นหายากหรือซ่อนอยู่ แต่มีความสำคัญของระบบนิเวศน์ชายฝั่ง โรทิโนนเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการเบื่อปลา เนื่องจากสามารถใช้ในปริมาณน้อย และมีผลกระทบข้างเคียงต่อสิ่งแวดล้อมเล็กน้อยและในระยะเวลาที่สั้นมาก
โรทินโนน ถูกใช้ในการกำจัดปลาในนากุ้ง ใช้กันหลายประเทศครับสหรัฐอเมริกาก็ใช้กัน
โรทิโนน มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน โดยยับยั้งกระบวนการส่งผ่าน อิเลกตรอน ใน ไมโตคอนเดรีย คอมเพล็กซ์ที่ 1 (Mitochondrial complex 1 electron transport inhibitors) รบกวน (ขัดขวาง) การทำงานของนิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ (NADH) ในกระบวนการสร้างพลังงานของเซลล์ในปลา (energy metabolism) ส่งผลให้คอมเพล็กซ์ที่ 1 ไม่สามารถส่งผ่านอิเล็กตรอนไปยัง CoQ ได้ ทำให้เกิดการสำรองอิเล็กตรอนภายในเมทริกซ์ไมโทคอนเดรีย ออกซิเจนในเซลล์จะลดลงจนถึงขั้นรุนแรง
โรทิโนนยังยับยั้งการสร้างไมโครทิวบูล (microtubule) ที่มีผลต่อการคงโครงสร้างของเซลล์
การใช้โรทิโนน ในการช่วยจับปลา ด้วยการนำพืชหางไหลแดง หีอพวกตระกูลถั่ว - Fabaceae มาบดหยาบและจุ่มลงในแหล่งน้ำ เนื่องจากโรทิโนนส่งผลรบกวนระบบการหายใจของปลา ปลาที่ได้รับสารนี้จะลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำที่มีออกซิเจนมากกว่า เพื่อหายใจหรือกลืนอากาศ ซึ่งทำให้ถูกจับได้ง่ายขึ้น การใช้โรทิโนนที่เป็นยาเบื่อปลานี้ ยังถูกใช้โดยหน่วยงานของรัฐเพื่อฆ่าปลาในแม่น้ำและทะเลสาบในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน