วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 12:16 น.
เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน ในสหรัฐฯ ระบุว่าเหตุระเบิดที่หนึ่งในแอ่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต้องหนีตายกันอย่างจ้าละหวั่น เมื่อวันอังคาร (23 ก.ค.) ที่ผ่านมา
วิดีโอเหตุการณ์ระเบิดแสดงให้เห็นกลุ่มไอน้ำและดินโคลนสีดำพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า โดยได้ยินเสียงผู้หญิงคนหนึ่งตะโกนให้ทุกคนวิ่งหนี ขณะที่ผู้คนเริ่มวิ่งหนีไปตามทางเดินไม้
อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน ระบุว่า เหตุระเบิดเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 10.19 น. ใกล้แอ่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ "แซฟไฟร์ พูล" บริเวณแอ่งที่ราบ "บิสกิต เบซิน" โดยไม่มีรายงานการบาดเจ็บ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการสืบหาสาเหตุ
สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ (ยูเอสจีเอส) แถลงว่า การระเบิดของพลังงานความร้อนใต้พิภพ เกิดขึ้นเมื่อ "การระเบิดของไอน้ำใต้ดินโดยฉับพลัน" และกล่าวว่าการระเบิดในลักษณะดังกล่าวเกิดค่อนข้างเกิดขึ้นบ่อยที่อุทยานแห่งนี้
ไมเคิล โปแลนด์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ดูแลศูนย์สังเกตการณ์ภูเขาไฟเยลโลว์สโตนของยูเอสจีเอส กล่าวว่า เหตุการณ์ประเภทนี้อาจเกิดขึ้นปีละครั้งหรือสองครั้งในเยลโลว์สโตน และบ่อยครั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีใครสังเกตเห็น
การระเบิดครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นที่แอ่งที่ราบบิสกิต เบซิน คือวันที่ 17 พ.ค. 2552
ทั้งนี้ อุทยานฯ เยลโลว์สโตนตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เต็มไปด้วยแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำร้อนและไอน้ำ การระเบิดอาจมีสาเหตุมาจากแร่ธาตุอุดตันในโพรงใต้ดินโพรงหนึ่ง ก่อให้เกิดแรงกดดันสูงขึ้นจนกระทั่งระเบิด
โปแลนด์กล่าวว่า การคาดการณ์เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเรื่องยากมาก กระบวนการเปลี่ยนน้ำเป็นไอสามารถเกิดขึ้นได้ "ทันที" แม้ว่าจะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับแผ่นดินไหวอยู่บริเวณที่เกิดการระเบิด แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าจะมีสัญญาณใดๆ หรือไม่
กรมอุทยานฯ และยูเอสจีเอส วางแผนที่จะตรวจสอบว่าการระเบิดทำให้ระบบใต้ดินมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ นักวิทยาศาสตร์จะตรวจวัดองค์ประกอบทางเคมี อุณหภูมิ และคุณสมบัติอื่นๆ ของน้ำพุร้อน และโพรงระบายในบริเวณใกล้เคียง ส่วนนักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว จากมหาวิทยาลัยยูทาห์ จะใช้เซนเซอร์เพื่อวัดเสียงสั่นสะเทือนที่หลงเหลืออยู่ จากนั้นอุทยานฯ จะสามารถกำหนดได้ว่าพื้นที่นั้นปลอดภัยพอที่จะเปิดให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวอีกครั้งหรือไม่
อุทยานฯ แห่งนี้เป็นที่รู้จักจากน้ำพุร้อนไกเซอร์ "โอลด์ เฟธฟูล" (Old Faithful) ชื่อดัง และไกเซอร์อื่นๆ ที่ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ โดยกระแสลาวาเกิดการปะทุครั้งล่าสุดจากปล่องภูเขาไฟเยลโลว์สโตน เมื่อประมาณ 70,000 ปีที่แล้ว ตามข้อมูลของ USGS.
ขอบคุณข้อมูลจาก World Forum ข่าวสารต่างประเทศ
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน