วันที่ 20 มิถุนายน 2567 เวลา 15:51 น.
วันที่ 20 มิถุนายน 2567 รอยเตอร์ รายงาน คลื่นความร้อนที่แผ่ปกคลุมภาคเหนือของอินเดียได้คร่าชีวิตผู้คนในกรุงนิวเดลีไปแล้วอย่างน้อย 52 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นประชากรที่ยากจนที่อาศัยและทำงานในที่โล่ง ขณะที่ประเทศยังคงต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงฤดูร้อนนี้
เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขระบุว่ามีผู้ป่วยจากโรคลมแดด มีจำนวนมากกว่า 40,000 ราย และ มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 110 ราย ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึง 18 มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่อินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่เพิ่มเป็นสองเท่า
กระทรวงสาธารณสุขได้สั่งให้สถาบันของรัฐบาลกลางและสถาบันของรัฐจัดลำดับความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยในทันที ขณะที่โรงพยาบาลในกรุงเดลีซึ่งกำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ก็ได้รับคำสั่งให้เพิ่มจำนวนเตียงให้มากขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ อุณหภูมิทางตอนเหนือของอินเดียพุ่งสูงแตะเกือบ 50 องศาเซลเซียส (122 องศาฟาเรนไฮต์) ขณะที่กรุงเดลีจะมีอากาศร้อนที่สุดในรอบกว่า 50 ปี โดยมีอุณหภูมิต่ำสุด 35.2 องศาเซลเซียส (95 องศาฟาเรนไฮต์) ท่ามกลางหนึ่งในคลื่นความร้อนที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ประเทศเริ่มบันทึกรายงานสภาพอากาศ "ผู้คนหลายพันล้านทั่วเอเชียกำลังต่อสู้กับความร้อนแรงในกระแสที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเลวร้ายลงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ขับเคลื่อนโดยมนุษย์"
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน