วันที่ 20 มิถุนายน 2567 เวลา 11:57 น.
วิษณุ แถลง ส่งตัว บิ๊กต่อ กลับตำแหน่งเดิม ส่วนบิ๊กโจ๊ก รอไปก่อน
"วิษณุ" แถลงผลสอบ 2 ตำรวจ พบมีความขัดแย้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติจริง พร้อมมีคำสั่งให้ "พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ " กลับไปดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.ตามเดิม ขณะที่ "พล.ต.อ.สุรเชษฐ์" อยู่ระหว่างการพิจารณา ของกรรมการ ก.พ.ค.ตร.
วันนี้ (20 มิ.ย.2567) นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีแถลงผลการสอบกรณีความขัดแย้งระหว่าง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ท่ามกลางข่าวความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานใหญ่ในกระบวนยุติธรรม ซึ่งส่งผลให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจกับสภาพที่เกิดขึ้น
นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย โดยมีนายฉัตรชัย พรหมเลิศ เป็นประธาน และได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นอีกหลายชุดกว่า 50 คน ได้สอบสวนคู่กรณีทั้ง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ และ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ โดยใช้เวลา 4 เดือน ซึ่งสามารถสรุปได้ 5 ข้อดังนี้
1.ผลการตรวจสอบพบว่ามีการขัดแย้งและไม่มีความเรียบร้อยเกิดขึ้นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติจริง มีความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูง ระดับกลาง ระดับเล็ก ในทุกระดับ ทุกฝ่าย ไม่รู้ว่าเกิดจากเหตุเดียวกัน หรือคนละเหตุ และประจวบด้วยกันก็ตาม จนเกิดเป็นคดีความต่างๆ ทั้งร้องเรียน และฟ้องร้อง
2.เรื่องราวที่เกิดขึ้น จะเกี่ยวพันกับบุคคล 2 ฝ่าย พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. และแต่ละคนมีทีมงานใต้บังคับบัญชา ทำให้ทีมงานมีความขัดแย้งไปด้วย คดีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้ เช่น คดี 140 ล้าน คดีกำนันนก คดีมินมีพนันออนไลน์ พนันออนไลน์ Bnk และแยกย่อยไปอีกหลายคดี ความขัดแย้งบางเรื่อง บางอย่างเกิดขึ้นกว่า 10 ปีมาแล้ว จึงทำให้เป็นคดีขึ้นมา
3. จึงต้องดำเนินเรื่องให้กับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
4.บางเรื่องเกี่ยวพันนอกกระบวนการยุติธรรม ป.ป.ช.รับไปดำเนินการ ไม่มีคดีที่ตกค้างที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอีก ปปง. และ ดีเอสไอ
5.พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เนื่องจากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการที่ สตช. แล้วตั้งแต่ 18 เมษายนที่ผ่านมา วันเดียวกันได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อสอนสวนทางวินัย และคำสั่งให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ออกจากราชการไว้ก่อน ส่วน พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ยังไม่ได้กลับ จึงส่ง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ไปกลับไปปฏิบัติดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.ตามเดิม เนื่องจากไม่มีข้อที่จะต้องตรวจสอบแล้ว ส่วนคดีอื่นๆ ก็ให้ว่าไปตามกระบวนการ ส่วนจะตั้งคณะกรรมการตรวจสอบอีกก็ให้เป็นเรื่องของแต่ละหน่วยงานจากข้อมูลไม่ได้ชี้ว่าใครผิดและใครถูก แต่จากรายงานมีความซับซ้อนในการตรวจสอบ
ทั้งนี้การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนจะต้องกระทำโดยคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะจากพนักงานสอบสวน แต่เรื่องนี้ ณ วันที่ 18 เม.ย.2567 มีการออกคำสั่ง 3 คำสั่งติดต่อกัน คือ คำสั่งเรียก พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กลับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, คำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัย และคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนทันที ซึ่งมีการส่งเรื่องนี้ไปหารือคณะกรรมการกฤษฎีกา
โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ 10 ต่อ 0 ว่า การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนที่กระทบสิทธิและหน้าที่ เพราะเงินเดือนไม่ได้ เงินประจำตำแหน่งไม่ได้ รถประจำตำแหน่งไม่ได้ รวมทั้งสิทธิพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง แสดงว่าเป็นการกระทำให้เสียสิทธิประโยชน์ จึงต้องทำโดยคำแนะนำหรือเสนอแนะจากคณะกรรมการสอบสวน แต่ปรากฏว่าเรื่องนี้ไม่ผ่านคณะกรรมการฯ ดังกล่าว กฤษฎีกาจึงเห็นว่าไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรม สมควรจัดการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยเป็นอำนาจสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการ
สถานภาพของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างนำความกราบบังคมทูล ให้ออกจากราชการไว้ก่อนนั้น ซึ่งก่อนถึงขั้นตอนนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ต้องตรวจสอบว่าได้ทำถูกต้องตามระเบียบขั้นตอนของกฎหมายหรือไม่
นอกจากนี้ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.) อยู่ระหว่างพิจารณากรณีดังกล่าว หลัง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ยื่นคำร้องไว้
นายวิษณุ กล่าวว่า กรณี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ใช้คำว่า ส่งกลับไปไม่ได้ เพราะกลับไป ตร.ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.แล้ว ส่วนกรณี พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ใช้คำว่า ส่งกลับไปได้ ส่วนจะไปวันใดแล้วแต่คำสั่งนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ ในอนาคตจะต้องมีการแก้ไขความขัดแย้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เชื่อว่าสถานการณ์จะเบาบางลง เพราะผ่านมา 4 เดือน ทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้พบปะพูดจากันมากพอสมควร คณะกรรมการฯ ก็เข้าไปไกล่เกลี่ยบางเรื่องให้ แต่ยืนยันว่าไม่ใช่การซูเอี้ย หรือ มวยล้มต้มคนดู เพราะคดีทั้งหมดมีปักหลังกันทุกคน แต่ระหว่างนี้ให้กลับไปทำงาน
23 พฤศจิกายน 2567
อย. เผยผลตรวจกัมมีช่วยให้นอนหลับยี่ห้อดัง เจอยาอันตราย 'เมลาโทนิน'
23 พฤศจิกายน 2567
23 พฤศจิกายน 2567
23 พฤศจิกายน 2567
อย. เผยผลตรวจกัมมีช่วยให้นอนหลับยี่ห้อดัง เจอยาอันตราย 'เมลาโทนิน'
23 พฤศจิกายน 2567
23 พฤศจิกายน 2567