หน้าแรก > นวัตกรรม

ม.มหิดล มุ่งพัฒนาสิ่งแวดล้อมสู่ปลายน้ำ เล็งสร้าง “ระบบบำบัดน้ำเสียนาโนเทค”

วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 เวลา 20:57 น.


คำศัพท์ “ต้นน้ำ” (Upstream) "กลางน้ำ“ (Midstream) และ ”ปลายน้ำ“ (Downstream) ปรากฏขึ้นครั้งแรกจากธุรกิจด้านพลังงาน น้ำมันและปิโตรเลียม ที่ว่าด้วยการเริ่มต้นสำรวจขนส่งสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ แต่เมื่อใช้กับทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร “ต้นน้ำ” จะหมายถึง “การริเริ่ม” หรือเรียนรู้ที่จะอนุรักษ์ ส่วน “กลางน้ำ” จะเป็น “การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อการอนุรักษ์” อาทิ 3R - Reduce Reuse Recycle และ “ปลายน้ำ” หมายถึง การอนุรักษ์ที่ “ออกดอกออกผล” ขับเคลื่อน - เปลี่ยนแปลงสู่การใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

รองศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาท ภักดีกุล อดีตคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงบันไดสู่สังคมไร้มลพิษ The European Green Deal 2050 เพื่อโลกสีเขียว ในอีก 26 ปีข้างหน้าว่า ไม่ได้สำคัญเพียงการตรากฎหมาย และบริหารจัดการ แต่ยังจะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ ได้ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่บันไดแห่งการบรรลุเป้าหมาย The European Green Deal 2050 จะต้องพึ่งพาการใช้พลังงานจากฟอสซิล (Fossils) หรือซากพืชซากสัตว์ให้น้อยที่สุด ซึ่งแม้ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างไต่ระดับ ด้านส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด แต่ปัจจุบันยังคงจัดว่า Green ไม่ได้ 100%

นอกจากนี้ หากมองในด้านปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพของโลกเช่นปัจจุบันอยู่ที่ทรัพยากรน้ำ รองศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาท ภักดีกุล นับเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะปัญญาของแผ่นดินตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้มีผลงานโดดเด่นด้านการจัดการทรัพยากรน้ำด้วยเทคโนโลยี มากถึง 6 เรื่องใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ภายใต้ทฤษฎีการจัดน้ำที่ให้ความสำคัญต่อทั้ง 3 ปัจจัยที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันทั้งการอนุรักษ์ป่า ดิน และน้ำ

โดยมองว่าเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียขั้นสูง (Advance Water Treatment Technology) จะเป็นเทรนด์ใหม่แห่งการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักการทำให้น้ำบริสุทธิ์เพื่อกลับมาใช้ใหม่ซึ่งจะต้องอาศัยนาโนเทคโนโลยีมารองรับ ด้วยระบบการกรอง Membrane Filtration แบบผันกลับ (Reverse Osmosis) ซึ่งจะต้องอาศัยการลงทุนสูง และพื้นที่มาก 

ด้วยหลักการรักษาสิ่งที่ดีอยู่แล้ว เพื่อสิ่งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น คาดว่าเทรนด์ด้านการออกแบบอาคารลดโลกร้อนจะทำให้ต่อไปมีการใช้หน้าต่างพลังสุริยะ (Solar Windows) ซึ่งทำด้วยวัสดุจากเซลล์รับแสงอาทิตย์ที่สามารถแปลงเปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาด นอกเหนือจากการใช้หลังคาพลังสุริยะ (Solar Rooftops) กันมากขึ้น เพื่อรองรับกระแสโลกสู่การบรรลุสังคมไร้มลพิษ The European Green Deal 2050 ต่อไป ภายใต้ความเชื่อที่ว่า “ประชากรโลกจะมีอนาคตที่ดี เพราะมีสิ่งแวดล้อมที่ดี”

ข่าวยอดนิยม