วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 เวลา 02:56 น.
รองผู้ว่าฯ - ปลัด กทม. คลองเตยสำรวจปากซอยสุขุมวิท 2 รองรับผู้ค้าถนนดวงพิทักษ์ บางคอแหลมขีดเส้นใต้ 30 วัน จัดระเบียบผู้ค้าตลาดคลองสวนหลวง ถนนเจริญกรุง 101-103
วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า บริเวณซอยสุขุมวิท 2 เขตคลองเตย โดยได้สำรวจพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับรองรับผู้ค้าที่ทำการค้าอยู่บริเวณถนนดวงพิทักษ์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ค้า (ฝั่งเขตคลองเตย) จำนวน 24 ราย เนื่องจากพื้นที่ทางเท้าปากซอยสุขุมวิท 2 มีพื้นที่กว้างพอที่จะสามารถรองรับผู้ค้าได้ อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่ ต้องมีการจัดระเบียบอย่างเข้มงวด ที่สำคัญเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ทางเท้าในการสัญจร
ปัจจุบันเขตคลองเตย มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 7 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 188 ราย ดังนี้ 1.ถนนดวงพิทักษ์ ผู้ค้า 13 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-18.00 น. 2.ซอยสุขุมวิท 16 ผู้ค้า 21 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-16.00 น. 3.แยกกล้วยน้ำไท ถนนพระรามที่ 4 ผู้ค้า 11 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-18.00 น. 4.ซอยสุขุมวิท 50 ผู้ค้า 5 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-16.00 น. 5.ปากซอยสุขุมวิท 4 ผู้ค้า 29 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-03.00 น. ของวันรุ่งขึ้น 6.ปากซอยอรรถกวี (ฝั่งขวา เอสโซ่) ผู้ค้า 17 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-11.00 น. และ 7.ตลาดริมคลองหัวลำโพง (ตลาดลาว) ถนนพระรามที่ 4 ผู้ค้า 92 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 03.00-24.00 น. ส่วนพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 5 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 47 ราย ดังนี้ 1.หน้าธนาคารกสิกรไทย สาขาคลองเตย ผู้ค้า 11 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 07.00-20.00 น. 2.หน้าองค์การโทรศัพท์ ถนนพระรามที่ 4 ผู้ค้า 5 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 07.00-22.00 น. 3.ซอยไผ่สิงโต ถนนพระรามที่ 4 ผู้ค้า 6 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-24.00 น. 4.ปากซอยอรรถกวี (ฝั่ง BMW) ถนนพระรามที่ 4 ผู้ค้า 11 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-11.00 น. และ 5.ปากซอยแสนสุข ถนนพระรามที่ 4 ผู้ค้า 14 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-22.00 น. ซึ่งในปี 2567 เขตฯ มีเป้าหมายยกเลิกจุดทำการค้า จำนวน 2 จุด ได้แก่ หน้าทางเข้าห้างโลตัส ถนนพระรามที่ 4 ผู้ค้า 5 ราย หน้าองค์การโทรศัพท์ ผู้ค้า 5 ราย
จากนั้นติดตามการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า บริเวณตลาดคลองสวนหลวง ถนนเจริญกรุง 101-103 เขตบางคอแหลม ซึ่งตลาดคลองสวนหลวง เป็นพื้นที่ทำการค้าอยู่ระหว่างรอประกาศ มีผู้ค้า 93 ราย ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พูดคุยสร้างความเข้าใจแก่ผู้ค้าในการจัดระเบียบพื้นที่ดังกล่าว ขีดสีตีเส้นขอบเขตแผงค้า กำหนดแนวตั้งแผงค้าด้านนอกอาคาร กำชับร้านค้าในอาคารไม่ให้ตั้งวางสินค้า รวมถึงโต๊ะและเก้าอี้ออกมาด้านนอกบนทางเท้า วางแผนดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน โดยจัดระเบียบพื้นที่ให้เป็นไปตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดพื้นที่ทำการค้าและการขายหรือจำหน่ายสินค้าบนถนนหรือสถานสาธารณะ เพื่อให้ผู้ค้าปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด อย่างไรก็ตาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะลงพื้นที่ติดตามการจัดระเบียบพื้นที่ดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ 8 มิถุนายน 2567
ปัจจุบันเขตบางคอแหลม มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 3 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 140 ราย ได้แก่ 1.ตลาดบางคอแหลม ผู้ค้า 42 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-22.00 น. 2.ถนนเจริญกรุง 89-91 ผู้ค้า 14 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-22.00 น. 3.ฝั่งบริษัท ไทยวาโก้ จำกัด ถนนเจริญราษฎร์ ผู้ค้า 8 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-14.00 น. และฝั่งตรงข้ามบริษัท ไทยวาโก้ จำกัด ถนนเจริญราษฎร์ ผู้ค้า 76 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-14.00 น. ส่วนพื้นที่ทำการค้าอยู่ระหว่างรอประกาศ จำนวน 2 จุด ได้แก่ 1.ตลาดคลองสวนหลวง ถนนเจริญกรุง 101-103 ผู้ค้า 93 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-22.00 น. 2.เจริญกรุง 81-85 ผู้ค้า 43 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-13.00 น. และ 14.00-22.00 น. ส่วนพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 3 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 66 ราย ได้แก่ 1.ฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ผู้ค้า 8 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-17.00 น. และด้านหลังโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ผู้ค้า 16 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-17.00 น. 2.ซอยเจริญกรุง 99 ผู้ค้า 14 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-17.00 น. 3.หน้าศูนย์บริการสาธารณสุข 18 ผู้ค้า 28 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-20.00 น. ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ดำเนินการยกเลิกพื้นที่ทำการค้าบริเวณฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ผู้ค้า 8 ราย และด้านหลังโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ผู้ค้า 16 ราย โดยได้ย้ายผู้ค้าเข้ามาทำการค้าในจุดที่เขตฯ จัดทำเป็น Hawker Center บริเวณพื้นที่ว่างหน้าโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
ในการนี้มี นายศุภกฤต บุญขันธ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร นางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยการเขตคลองเตย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักเทศกิจ เขตคลองเตย เขตบางคอแหลม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน