วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 เวลา 11:48 น.
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เล็งเห็นภัยมิจฉาชีพที่งัดหลากกลลวงมาเพื่อใช้หลอกลวงพี่น้องประชาชน ซึ่งในหลายกลลวงเหล่านั้น มีการปลอม สวมรอย เป็นบุคคลอื่น หรือนิติบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเข้าใจผิด นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการส่ง SMS ปลอม เพื่อลวงให้กดลิงก์ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ที่แฝงไวรัส หรือมัลแวร์อีกด้วย และจากสถิติของศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) พบว่า ใน 1 วัน จะมีคนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ ไม่ต่ำกว่า 1,000 คดี ซึ่งมีมูลค่าเสียหายเฉลี่ยอยู่ที่ 116,681 บาทเลยทีเดียว
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงได้ดำเนินการเชิงรุก โดยเป็นตัวกลางในการรับเบาะแสจากผู้เสียหายเพื่อนำมาประสานกับหน่วยงานรัฐ และเอกชนเจ้าของแพลตฟอร์มต่างๆ โดยการเปิดช่องทางรับแจ้งเบาะแสของมิจฉาชีพออนไลน์รูปแบบต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์https://www.cib.go.th/e-service
แบ่งการรับแจ้งเบาะแสเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1.รับแจ้งเบาะแส "ถูกมิจฉาชีพแอบอ้าง เป็นบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น"
ลิงก์แจ้งเบาะแส : https://cib.go.th/e-service/report/impersonation
เอกสารสำคัญ : บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ, ลิงก์ URL ของผู้เสียหาย (ลิงก์จริง), ลิงก์ URL ของมิจฉาชีพ (ลิงก์ที่ปลอมแปลง)
2.รับแจ้งเบาะแส "SMS หลอกลวง"
ลิงก์แจ้งเบาะแส : https://cib.go.th/e-service/report/sms
เอกสารสำคัญ : เบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพ , ข้อความที่ได้รับ , แคปภาพหน้าจอ
โดยข้อมูลที่ประชาชนแจ้งเบาะแสเข้ามานั้น พวกเรา ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จะนำไปประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปิดกั้นช่องทางหลอกลวงของมิจฉาชีพ พร้อมกันนี้จะนำไปเป็นข้อมูลในการสืบสวน วิเคราะห์ข้อมูล และขยายผล เพื่อนำไปสู่การจับกุมมิจฉาชีพทั้งขบวนการในอนาคตต่อไป สำหรับช่องทางดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถช่วยลดความเสียหายจากมิจฉาชีพออนไลน์ลงได้
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน