วันที่ 5 พฤษภาคม 2567 เวลา 05:08 น.
4 อาหารไม่ควรแช่ตู้เย็นนาน เสี่ยงอันตรายต่อร่างกาย จริงหรือ?
ตามที่มีข้อมูลในเรื่อง 4 อาหารไม่ควรแช่ตู้เย็นนาน เสี่ยงอันตรายต่อร่างกาย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง
การนำผลไม้ นม หอม กระเทียม น้ำ และผลไม้กระป๋องแช่ตู้เย็นตลอด อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดสนิมและเชื้อรา หรืออาจทำให้อาหารปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสี กลิ่น รสและคุณค่าของอาหาร โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดโบทูลินั่ม ซึ่งจะสร้างสารพิษโบทูลินั่มที่ส่งผลต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง หากรับประทานเข้าสู่ร่างกายจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการอัมพาตของกล้ามเนื้อต่าง ๆ สายตาพร่ามองเห็นเป็นภาพซ้อน ซึม ง่วง กลืนอาหารไม่สะดวก ลิ้นและคออักเสบ กล้ามเนื้อต้นคออ่อนแรงจนยกหัวไหล่ไม่ขึ้น โดยจะแสดงอาการให้เห็นภายใน 2-4 ชั่วโมง ในบางรายอาจใช้เวลานานถึง 12-36 ชั่วโมง หากไม่ได้รับการรักษาโดยทันทีอาจเสียชีวิตด้วยระบบหายใจล้มเหลว ดังนั้นหากพบความผิดปกติเกิดขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ สำหรับอาหารที่ไม่ควรแช่ตู้เย็นนาน ได้แก่
1. แตงโม เป็นผลไม้ที่มีน้ำเยอะ เมื่อโมเลกุลของน้ำโดนความเย็น จะทำให้มีความหนาแน่นมากขึ้น ทำให้เนื้อแตงโมมีความฉ่ำน้ำ ชุ่มน้ำ และมีรสชาติแย่ลง การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เรียกว่า การสะท้านหนาว (Chilling Injury) ซึ่งสามารถพบได้ในการใช้ผลไม้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำเกินไป โดยแตงโมจะเกิดอาการสะท้านหนาวอยู่ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 7 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ทดลองเก็บแตงโมในอุณหภูมิที่ต่างกัน ที่ 5, 13 และ 21 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 14 วัน พบว่าสารพฤกษเคมีกลุ่มแคโรทีนอยด์ทั้งไลโคปีน และเบต้าแคโรทีน ที่อุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง จะมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งไลโคปีนที่เพิ่มขึ้นราว 11-40%
2. กล้วยดิบ เป็นผลไม้ที่มีความไวต่อการเกิดอาการสะท้านหนาว เปลือกกล้วยจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส นอกจากนี้อุณหภูมิเย็น จะไปยับยั้งการสุกของกล้วย เพราะอุณหภูมิเย็นจะไปยับยั้งการทำงานของก๊าซเอทิลีน ซึ่งทำให้การสุกของกล้วยไม่สมบูรณ์ การรับประทานกล้วยดิบจะทำให้มีสารแทนนินสูง และมีแป้งที่เอนไซม์ไม่สามารถย่อยได้ จึงอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
3. การเก็บกระเทียมและหอมหัวใหญ่ในตู้เย็นจะทำให้เน่าเสียเร็วกว่าเดิม เพราะในตู้เย็นมีความชื้น จึงทำให้เกิดเชื้อราได้ และเชื้อราเหล่านี้อาจผลิตสารพิษที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ ต่อตับ และอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ด้วย นอกจากนี้ความเย็นยังทำลายเนื้อสัมผัสของหอมหัวใหญ่ ทำให้เนื้อสัมผัสเหี่ยว นิ่ม ไม่น่ารับประทาน
4. อาหารกระป๋องความชื้น และออกซิเจนในตู้เย็น อาจทำให้กระป๋องเกิดสนิมได้ และเมื่อเรารับประทานอาหารที่ปะปนกับโลหะหนักจากสนิม จะทำให้เกิดพิษต่อเซลล์ของเราในร่างกาย เป็นพิษต่อตับ และอาจเป็นสารก่อมะเร็งในภายหลังได้
ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.anamai.moph.go.th หรือ โทร. 02-590-4000
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ที่มา : Anti-Fake News Center Thailand
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน