เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนเก็บกักน้ำ 1 ใน 4 เขื่อนหลัก ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยในช่วงฤดูฝนปี 2566 ที่ผ่านมา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์สามารถเก็บกักน้ำ ได้ประมาณ 1,019 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 106 ของความจุอ่างฯ ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวจะเป็นน้ำต้นทุน เพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ ตลอดช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 รวมระยะเวลาทั้งสิ้นกว่า 6 เดือน (1 พฤศจิกายน 2566 – 30 เมษายน 2567) รวมไปถึงเป็นน้ำต้นทุนเพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝน กรณีที่เกิดฝนทิ้งช่วงหรือฝนยังตกไม่สม่ำเสมอ ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2567 อีกด้วย
ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 (1 พฤศจิกายน 2566 – 30 เมษายน 2567) เพื่อสนับสนุนการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์ การเกษตร การอุตสาหกรรม และอื่นๆ รวมปริมาณน้ำทั้งสิ้นกว่า 800 ล้าน ลบ.ม. เนื่องจากมีการใช้น้ำตลอดช่วงฤดูแล้งรวมทั้งสิ้นกว่า 6 เดือน ประกอบกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง จึงทำให้ปริมาณน้ำลดลงตามลำดับ โดย ณ วันที่ 6 มกราคม 2567 มีปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ประมาณ 771.80 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ และในวันที่ 19 เมษายน 2567 มีปริมาณน้ำคงเหลืออยู่ที่ประมาณ 213.85 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ
ปัจจุบัน (1 พ.ค .67) ได้สิ้นสุดการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งปี 2566/67 แล้ว พบว่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 159.95 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อนละ 17 ของความจุอ่างฯ ซึ่งเพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้น้ำในช่วงต้นฤดูฝนกรณีที่เกิดภาวะช่วงฝนทิ้งช่วง ตามแผนจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2567 ที่วางไว้ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมพื้นที่อ่างเก็บน้ำไว้สำหรับรองรับน้ำฝนในช่วงฤดูฝนปี 2567 ที่จะมาถึงนี้ได้อย่างเต็มศักยภาพอีกด้วย
ภาพจากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน