วันที่ 10 เมษายน 2567 เวลา 12:30 น.
วันนี้ (10 เมษายน 2567) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Walletว่า นโยบายเติมเงิน 1 หมื่นบาท เป็นนโยบายเรือธง ยกระดับเศรษกิจประเทศ และประชาชนได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ รัฐบาลพยายามสูงสุด ฝั่นฝ่าอุปสรรค ส่งมอบนโยบายที่พลิกชีวิตประชาชน ลงทะเบียนในไตรมาส 3 และเงินส่งถึงประชาชนไตรมาส 4 โดยเป็นการใส่เงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง ได้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ยกระดับชีวิตของประชาชน และภาคธุรกิจ นำไปสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ รัฐได้รับผลตอบแทนในรูปแบบภาษี เตรียมความพร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ในความคุ้มค่าของการดำเนินการ ให้สิทธิประชาชน 50 ล้านคน วงเงิน 5 แสนล้านบาท จับจ่ายได้ในร้านค้าที่กำหนด ทำให้เศรษฐกิจโตขึ้น จีดีพีโตขึ้น 1.2-1.6 เปอร์เซ็นต์
ด้านนายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ทุกขั้นตอนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โปร่งใสตรวจสอบได้ ซึ่งวงเงิน 5 แสนล้านบาทบริหารจัดการผ่านงบประมาณได้ทั้งหมด ใช้งบปี 67 และ 68 แบ่งเป็น 3 ส่วน งบ 2568 และงบประมาณปี 2567 และเงินตามมาตรา 28 ของกรอบวินัยการเงิน จากธกส. โดยแหล่งเงินมาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง วันที่เริ่มโครงการมีเงิน 5 แสนล้านบาททั้งก้อน ไม่ใช่ใช้เงินอื่น
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวว่า แนวทางและเงื่อนไข คือ
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน