วันที่ 27 มีนาคม. 2567 เวลา 17:33 น.
การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) โดยนายจักรพงศ์ คำจันทร์ รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ 2) รักษาการแทนผู้ว่าการ กปภ. และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยนายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดี ปภ. ร่วมลงนาม MOU บูรณาการแก้ปัญหาภัยแล้ง เตรียมสำรองน้ำดิบผลิตน้ำประปาให้บริการประชาชน ในวันที่ 27 มีนาคม 2567 ณ กปภ. สำนักงานใหญ่ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
นายจักรพงศ์ คำจันทร์ รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ 2) รักษาการแทนผู้ว่าการ กปภ. เปิดเผยว่า กปภ. มุ่งมั่นให้บริการน้ำประปาที่สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสำหรับการอุปโภคบริโภคของประชาชนอย่างทั่วถึงและเพียงพอ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤติภัยแล้งให้มีประสิทธิภาพสูงสุด กปภ. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำและเฝ้าระวังการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ กปภ.สาขา 234 สาขาอย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้ ได้บูรณาการความร่วมมือกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเพื่อเตรียมความพร้อมจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนสำรองไว้สำหรับการผลิตน้ำสะอาด แก้ปัญหาภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศโดยใช้ความเชี่ยวชาญของทั้งสองหน่วยงาน ทั้งนี้ กปภ. พร้อมให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ และอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ ปภ. เข้าปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของ กปภ.สาขาทั่วประเทศ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนได้มีน้ำสะอาดใช้ในการอุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง สำหรับความร่วมมือของ กปภ. กับ ปภ. ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 มีผลผูกพันเป็นเวลา 1 ปี และได้ขยายระยะเวลาความร่วมมือจนถึงปัจจุบันต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยจัดพิธีลงนามฯ ในวันที่ 27 มีนาคม 2567 ณ กปภ. สำนักงานใหญ่ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ กปภ. ขอความร่วมมือประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า เตรียมพร้อมสำรองน้ำไว้ใช้เพื่อรองรับหากเกิดภัยแล้งในพื้นที่หรือเกิดเหตุฉุกเฉินน้ำประปาไม่ไหล ตลอดจนหมั่นตรวจสอบระบบท่อและอุปกรณ์ประปาภายในบ้าน ไม่ให้มีจุดแตกรั่วซึ่งเป็นสาเหตุค่าน้ำประปาสูงผิดปกติและเป็นการสูญเสียทรัพยากรน้ำไปอย่างเปล่าประโยชน์ ทั้งนี้ หากพบเห็นท่อประปาแตกรั่ว สามารถแจ้ง กปภ.สาขาในพื้นที่ หรือ PWA Contact Center 1662 ตลอด 24 ชั่วโมง
นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดี ปภ. กล่าวว่า ภัยแล้ง เป็นภัยธรรมชาติที่สำคัญที่ก่อเกิดความเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ มีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงจากสภาพภูมิอากาศ คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบ 9 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ซึ่งสอดคล้องกับกรอบแนวคิดในการบริหารจัดการความเสียงสาธารณภัยที่ให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันและลดผลกระทบและมาตรการเตรียมความพร้อม ปภ. ในฐานะหน่วยงานกลางในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูง รวมถึงด้านการจัดการความเสี่ยง ในการขับเคลื่อนมาตรการให้บรรลุเป้าหมายแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน จึงต้องบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานเป็นหุ้นส่วนการจัดการความเสี่ยงร่วมกัน โดยได้ประสานความร่วมมือกับ กปภ. จัดทำบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดหาน้ำต้นทุนและเพิ่มน้ำต้นทุนให้เพียงพอต่อการผลิตน้ำอุปโภคบริโภค สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำต้นทุน และสามารถจัดหาน้ำสะอาดให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน บนพื้นฐานของการทำงานร่วมกันอย่างเป็นหนึ่งเดียวเพื่อไปสู่เป้าหมาย “การรู้รับ - ปรับตัว - ฟื้นเร็วทั่ว - อย่างยั่งยืน” โดย ปภ. พร้อมสนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัย วัสดุ อุปกรณ์ เจ้าหน้าที่ ตามที่ กปภ. ประสานการดำเนินการ เพื่อลดผลกระทบและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์ภัยแล้ง
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์