วันที่ 15 มีนาคม. 2567 เวลา 10:20 น.
กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย บก.ปคบ. ปฏิบัติการเข้าตรวจค้นทลายโรงงานผลิตไก่ยอและไส้กรอกอีสานเถื่อนย่านบางเขน ตรวจยึดไก่ยอและไส้กรอกอีสานไม่มีเลข อย. กว่า 729 กิโลกรัม
สืบเนื่องจาก กองกำกับการ4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคมีมาตรการในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดก่อนจำหน่าย ซึ่งอาจนำมาสู่กระแสอาหารสกปรก จึงทำการเฝ้าระวังและสืบสวนหาข่าวเรื่อยมา ต่อมาพบว่า มีโรงงานไก่ยอและไส้กรอกอีสานเถื่อนย่านบางเขน กทม. ซึ่งโรงงานดังกล่าวมีการส่งไก่ยอและไส้กรอกอีสานขายตลาดขนาดใหญ่ เช่น ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดบางกะปิ เป็นต้น
เพื่อความปลอดภัย และสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. จึงสืบสวนหาข่าว พบว่าในพื้นที่เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร มีโรงงานลักลอบผลิตไก่ยอและไส้กรอกอีสานเถื่อน โดยลักลอบผลิตไก่ยอและไส้กรอกอีสานจำนวนมากในสถานที่ไม่ถูกสุขลักษณะ แพ็คบรรจุส่งขายตามตลาดขนาดใหญ่ในพื้นที่ ได้แก่ ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดบางกะปิ และบริเวณใกล้เคียง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการลงพื้นที่สืบสวนจนทราบถึงแหล่งผลิตไก่ยอและไส้กรอกอีสานดังกล่าว
ต่อมาวันที่ 13 มีนาคม 2567 เจ้าหน้าที่ได้ทำการขอหมายค้นต่อศาลอาญามีนบุรีเพื่อเข้าค้นบ้านพักอาศัยที่ดัดแปลงเป็นโรงงานผลิตไก่ยอและไส้กรอกอีสาน ภายในซอยคู้บอน 27 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร พบนางสาวโช (นามสมมุติ) แสดงตนเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ตรวจยึด 1. ไก่ยอ ไม่ระบุยี่ห้อ ถุงละ 1 กิโลกรัม จำนวน 17 ถุง, 2. ไก่ยอ ยี่ห้อ KMF ถุงละ 1 กิโลกรัม จำนวน 127 ถุง, 3. ไส้กรอกอีสาน ยี่ห้อหม่ำแซ่บ ถุงละ 1 กิโลกรัม จำนวน 10 ถุง, 4. ถุงบรรจุภัณฑ์ยี่ห้อต่างๆ 3 ยี่ห้อ ได้แก่ ยี่ห้อ KMF, แม่กระบอก และหม่ำแซ่บ รวม 680 ใบ, 5. เนื้อไก่สด จำนวน 450 กิโลกรัม, 6. เครื่องบด จำนวน 1 เครื่อง, 7. เครื่องตีผสม จำนวน 1 เครื่อง, 8. เครื่องยิงไส้กรอก จำนวน 1 เครื่อง, 9. เครื่องเป่าลมไส้กรอกให้แห้ง จำนวน 2 เครื่อง, 10. เครื่องซิล จำนวน 1 เครื่อง, 11. หม้อต้ม จำนวน 3 ใบ, 12. แป้งสำเร็จรูป และส่วนผสมต่างๆ ซึ่งเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 จำนวน 15 รายการ รวมตรวจยึดไก่ยอ ไส้กรอกอีสาน และส่วนผสมต่าง ๆ กว่า 729 กิโลกรัม, เครื่องจักร, บรรจุภัณฑ์ และส่วนผสมต่างๆที่ใช้ในการผลิตลูกชิ้น รวมกว่า 15 รายการ
ซึ่งนางสาวโช รับสารภาพว่า ผลิตไก่ยอและไส้กรอกอีสาน โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. และไม่มีเลขสารบบอาหารแต่อย่างใด โดยใช้บ้านพักดัดแปลงเป็นสถานที่ผลิต จากนั้นนำมาแช่ไว้ในถังน้ำแข็งขนาดใหญ่เพื่อรอการจำหน่ายให้กับลูกค้า ซึ่งเนื้อไก่ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ตนซื้อมาจากโรงงานแยกชิ้นส่วนไก่แล้วนำมาผลิตเป็นไก่ยอและไส้กรอกอีสานที่ไม่ได้มาตรฐานส่งขายให้ลูกค้าตามตลาดสดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดบางกะปิ เป็นต้น
จากนั้นจะมีผู้ค้ารายย่อยมารับสินค้าไปกระจายต่ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งมีกำลังการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไก่ยอและไส้กรอกอีสานวันละประมาณ 100 กิโลกรัม เฉลี่ยเดือนละ 1,600 กิโลกรัม โดยทำมาแล้วประมาณ 4 ปี
ทั้งนี้ได้เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ หาสารบอแรกซ์ ชนิดและปริมาณวัตถุกันเสีย และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หากพบสารต้องห้ามในอาหารเพิ่มเติม จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ฐาน“ผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์” ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ฐาน “ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง” ระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน