วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10:59 น.
การทำร้ายร่างกายผู้อื่น มีกฎหมายลงโทษผู้กระทำความผิดอยู่ 3 ขั้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความร้ายแรงที่เกิดขึ้น และความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ
1. ทำร้ายร่างกายผู้อื่น “โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ” เช่น การทำร้ายเล็กๆ น้อยๆ ไม่เกิดบาดแผล เป็นต้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ป.อาญา ม.391) ซึ่งมีอายุความ 1 ปี
2. ทำร้ายร่างกายผู้อื่น “จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ” เช่น ทำให้ได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผล หรือฟกช้ำ เป็นต้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ป.อาญา ม.295) และมีอายุความ 10 ปี
3. ทำร้ายร่างกายผู้อื่น “จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายสาหัส” เช่น ตาบอด หูหนวก เสียอวัยวะใดๆ หรือต้องรักษาตัวเกินกว่า 20 วัน เป็นต้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 1 หมื่น ถึง 2 แสนบาท (ป.อาญา ม.297) และมีอายุความ 15 ปี
ซึ่งความผิดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ เนื่องจากเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งถึงแม้ผู้เสียหายจะยินยอม หรือไม่ติดใจเอาความ แต่ผู้กระทำผิดก็ยังต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน