หน้าแรก > สังคม

กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนสาหัส ดัชนีความร้อน 5-6 มี.ค. พุ่งทะลุ 51.4 องศาเซลเซียส พื้นที่ จ.ชลบุรี อยู่ในระดับอันตราย เสี่ยงฮีทสโตรก

วันที่ 5 มีนาคม. 2567 เวลา 13:54 น.


5 มี.ค.2567 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายค่า ดัชนีความร้อน สูงสุดรายวัน (4-6 มี.ค.2567) โดยดัชนีความร้อน คือ ค่าที่ได้จากการนำอุณหภูมิของอากาศมาคิดร่วมกับความชื้นสัมพัทธ์ โดย ดัชนีความร้อนจะสะท้อนว่าร่างกายของคนเรา “รู้สึก” ว่าอากาศร้อนแค่ไหน ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าหากความชื้นสัมพัทธ์สูง จะทำให้เหงื่อระเหยยาก ผลคือเรารู้สึก “ร้อนกว่า” อุณหภูมิจริงของอากาศ ซึ่งไม่ใช่อุณหภูมิที่เครื่องวัดหรือโทรศัพท์แสดง

วันที่ 5 มี.ค.2567

จังหวัดที่มีดัชนีความร้อนสูงสุดรายภาค

ภาคเหนือ : ตาก 39.9 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับเตือนภัย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : นครราชสีมา 38.7 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับเตือนภัย

ภาคกลาง : กรุงเทพฯ 48.1 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย

ภาคตะวันออก : ตราด 50.6 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย

ภาคใต้ : กระบี่ 42.5 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย

วันที่ 6 มี.ค.2567

ภาคเหนือ : ตาก 39.6 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับเตือนภัย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : บุรีรัมย์ 39.4 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับเตือนภัย

ภาคกลาง : กรุงเทพฯ 48.1 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย

ภาคตะวันออก : ชลบุรี 51.4 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย

ภาคใต้ : ภูเก็ต 48.3 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย

ทั้งนี้ ค่าดัชนีความร้อนระดับเฝ้าระวังเตือนภัยผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน แบ่งเป็น 4 ระดับ ที่มา (กรมอนามัย)

ระดับเฝ้าระวัง-ดัชนีความร้อน 27.0-32.9 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อสุขภาพ: เมื่อสัมผัสความร้อนและทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน อาจทำให้ร่างกายเกิดอาการเบื้องต้น เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ผื่นจากความร้อน บวมจากความร้อน ปวดเมื่อยตามร่างกาย นำไปสู่การเกิดตะคริวจากความร้อนได้

ระดับเตือนภัย-ดัชนีความร้อน 33.0-41.9 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อสุขภาพ : เมื่อสัมผัสความร้อนและทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเพลียแดด (Heat Exhaustion) และเป็นตะคริวจากความร้อนได้ และอาจส่งผลให้เกิดโรคลมร้อนหรือฮีตสโตรก (Heat Stroke)

ระดับอันตราย-ดัชนีความร้อน 42.0-51.9 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อสุขภาพ: เมื่อสัมผัสความร้อนและทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน อาจทำให้เป็นตะคริวจากความร้อน และเกิดโรคเพลียแดดจากความร้อน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมร้อนหรือฮีทสโตรกได้ หากสัมผัสความร้อนอย่างต่อเนื่อง

ระดับอันตรายมาก-ดัชนีความร้อนมากกว่าหรือเท่ากับ 52.0 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อสุขภาพ: เมื่อสัมผัสความร้อนและทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดโรคลมร้อนหรือฮีตสโตรก

ข่าวยอดนิยม


ข่าวยอดนิยม