หน้าแรก > ต่างประเทศ

ข่าวดี! นักวิจัยพบฟอสซิล “ยูคาริโอตหลายเซลล์” อายุ 1,630 ล้านปี คาดเก่าแก่สุดในโลก

วันที่ 30 มกราคม 2567 เวลา 11:13 น.


วันที่ 30 มกราคม 2567 สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า คณะนักโบราณคดีของจีนค้บพบฟอสซิลสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ใน “วงศ์ยูคาริโอต” (eukaryote) ที่มีอายุย้อนกลับไปถึง 1,630 ล้านปีก่อน โดยถือเป็นการค้นพบฟอสซิลประเภทนี้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

การค้นพบดังกล่าวเผยแพร่ในวารสารไซแอนซ์ แอดวานซ์ โดยระบุว่ามีการขุดพบไมโครฟอสซิล “ชิงซาเนีย แมกนิฟิกา” (Qingshania magnifica) ที่ยังคงอยู่ในสภาพดี บริเวณเทือกเขาเยียนซาน ทางตอนเหนือของจีน

คณะนักวิจัยจากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ค้นพบฟอสซิลสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ในวงศ์ยูคาริโอตซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าหลังพบฟอสซิลในวงศ์ยูคาริโอตขนาดเดซิเมตรในภูมิภาคดังกล่าวเมื่อปี 2559 และบ่งชี้ว่าการปรากฏของสิ่งมีชีวิตประเภทนี้เก่าแก่ไปจากเดิมอีกราว 70 ล้านปี

ฟอสซิลที่ค้นพบครั้งนี้ประกอบด้วย “เส้นใยเดี่ยวขนาดใหญ่และไม่มีการแยกส่วนหรือแตกแขนง” (filament) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเซลล์สูงถึง 190 ไมโครเมตร และมีลักษณะพิเศษคือโครงสร้างภายในเซลล์ทรงกลมในบางเซลล์ ที่แสดงให้เห็นว่าสัตว์ในวงศ์นี้อาจสืบพันธุ์โดยสปอร์เช่นเดียวกับสาหร่ายยูคาริโอต หลายชนิด นักวิจัยสรุปเพิ่มเติมว่าฟอสซิลเหล่านี้น่าจะเป็นสาหร่ายสังเคราะห์แสงมากที่สุด

ทั้งนี้ ฟอสซิลยูคาริโอต ที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบันเป็นฟอสซิลรูปแบบสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีอายุย้อนไปถึง 1.65 พันล้านปีก่อน พบทางตอนเหนือของจีนและตอนเหนือของออสเตรเลีย ส่วน ชิงซาเนีย แมกนิฟิกา เกิดขึ้นภายหลังเล็กน้อย และทำให้เข้าใจเพิ่มขึ้นว่ายูคาริโอต พัฒนาไปสู่การเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มในประวัติศาสตร์ของสัตว์ในวงศ์ยูคาริโอต
ที่มา  https://english.news.cn/.../7392ea0254904eabb1ba67.../c.html.)

 

 

ข่าวยอดนิยม


ข่าวยอดนิยม