หน้าแรก > การเมือง

พิธารอด! มติ 8 ต่อ 1 ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่ถือหุ้นสื่อ ไม่สิ้นสุดสมาชิกภาพ สส.

วันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 15:21 น.


ศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบังลังค์อ่านคำวินิฉัย กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ ว่าสถานภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๐ (๖) ประกอบ มาตรา ๙๘ (๓) หรือไม่ จากกรณีที่ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน ๔๒,๐๐๐ หุ้น ซึ่งประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชนใดๆ อยู่ ในวันสมัครรับเลือกตั้ง สส.บัญชีรายชื่อ  ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญ วินิจัญให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่สิ้นสุดสมาชิกภาพ สส. และกลับเข้าสภาได้ทันที

วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๗ ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่สนใจ ดังนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๒ ว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธา ยิ้มเจริญรัตน์ ชั้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๒) ประกอบมาตรา ๓๘ (๓) หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ ๒๓/๒๕๖๖)

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ร้อง) ส่งคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ผู้ถูกร้อง) เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ อยู่ในวันที่สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๒) ประกอบมาตรา ๙๘ (๓) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๒ วรรคสอง และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องว่างลงนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย ให้แก่คู่กรณีทั้งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๕ วรรคหนึ่ง (๒)

ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า คำร้องถูกต้องครบถ้วนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๓ มาตรา ๕๒ จึงมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย และเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง หลักฐานทะเบียนผู้ถือหุ้น วัตถุประสงค์ ตามหนังสือบริคณห์สนธิและงบการเงิน (แบบ ส.บช. (๓) ของบริษัทโอที จำกัด (มหาชน) เป็นเหตุเพียงพอ ให้ผู้ร้องควรเชื่อว่าผู้ถูกร้องเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกเบภาผู้แทนราษฎร จึงปรากฏเหตุอันควรสงสักว่ามีกรณีตามที่ถูกร้อง ประกอบกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกร้องอาจก่อให้เกิด ปัญหาข้อกฎหมายและการคัดค้านโต้แย้งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานสำคัญของที่ประชุมรัฐสภา และที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๑๙๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

ผู้ถูกร้องยื่นคำร้อง ฉบับลงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ขอขยายระยะเวลาการยืน คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ออกไปอีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๒๖ และคำร้องฉบับลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ ขอขยายระยะเวลายื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ครั้งที่ ๒ ออกไปอีก ๓๐ วันนับถัดจาก วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรกแล้ว ตาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ

ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คำชี้แจงและเอกสารหลักฐาน เกี่ยวข้อง รวมทั้งไต่สวนพยานและรับตำแถลงการณ์ชิพคดีของคู่กรณีรามไว้ รวมทั้งไต่สวนพยานและรับคำแถลงการณ์ปิดคดีของคู่กรณีรวมไว้ ของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในสำนวนแล้ว เห็นว่าคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐรรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง กำหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๓ (๒) ประกอบมาตรา ๔๒๘ (๓) หรือไม่ นับแต่เมื่อใด

ผลการพิจารณา

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (๘ ต่อ ๑) วินิจฉัยว่า ในวันที่พรรคก้าวไกลอื่นบัญชี รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อต่อผู้ร้อง ผู้ถูกร้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) แต่ข้อเท็จจริงในทางไต่สวนรับฟังได้ว่าบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ไม่ได้ประกอบ กิจการหรือมีรายได้จากกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ ผู้ถูกร้องจึงมิใช่ผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๓๘ (๓) สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๓ (๒) โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จํานวน ๓ คน คือ นายนครินทร์ และโตวรรัตน์ เห็นว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้อง สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๓ (๒) ประกอบมาตรา ๑๐๘ (๓)
 

 

ข่าวยอดนิยม


ข่าวยอดนิยม