หน้าแรก > สังคม

จุฬาฯ เผย อัตราเติบโตของไทย ยังน่าห่วง รั้งอันดับ 51 ของโลก

วันที่ 23 มกราคม 2567 เวลา 11:39 น.


23 มกราคม 2567 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ World  Economic Forum หรือ WEF เปิดเผยรายงานอนาคตการเติบโต The Future of Growth 2024 เพื่อวัดคุณภาพการเติบโตของ 107 ประเทศทั่วโลก  โดยประเมินจากตัวชี้วัด 4 ทั้งการเติบโตด้านนวัตกรรม  ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน  ด้านความยั่งยืน และด้าน ความยืดหยุ่นและการปรับตัว

ศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ระบุว่า ประเทศไทยอยู่ในได้ คะแนนที่ 48.99 ลำดับที่ 51 จาก107 ประเทศ  และอยู่อันดับ 7 ของเอเชีย  ส่วนอันดับ 1 ของโลกได้แก่ สวีเดน  ตามมาด้วย สวิตเซอร์แลนด์  ส่วนประเทศในเอเชีย มี ญี่ปุ่น อยู่อันดับที่ 11 ตามด้วยเกาหลี อันดับ 12 และสิงคโปร์ อันดับ ที่16  ขณะที่ มาเลเซีย อยู่ในอันดับที่ 31 เวียดนาม 36 อินโดนีเซีย 50

"การเติบของไทยอยู่ในระดับกลาง แต่ยังน่าเป็นห่วง แม้จะมีคะแนนด้านนวัตกรรมโดดเด่น อยู่ในอันดับที่ 38 จาก 107 ของโลก  แต่อีก 3 ด้านที่เหลือ พบว่า ได้คะแนนต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยโลก โดยเฉพาะ ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน อยู่ในอันดับที่ 53 จาก 107 ยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความไม่เท่าเทียมของรายได้  ส่วนด้านความยั่งยืน อยู่ในอันดับที่ 88 จาก 107  ชี้ว่าไทย ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดมากขึ้น"

ศ.ดร.วิเลิศ ระบุว่า ไทยควรเร่งเพิ่มขีดความสามารถในทุกด้าน เพื่อรับมืองการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของโลกอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งคาดว่าจะลดลงสู่อัตราที่ต่ำที่สุดในรอบสามทศวรรษภายในปี 2030  ควรให้ความสำคัญกับความยั่งยืน เพื่อให้ประเทศเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ  ขณะที่การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ควรเน้นไป ที่การเพิ่มคุณภาพแรงงานเพื่อสร้างรายได้ มากกว่าการแจกเงิน เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย อย่างโครงารดิจิทัลวอลเล็ต  ซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ในระยะยาว เพียงแต่ทำให้เกิดการใช้จ่ายในระยะสั้นเท่านั้น


 

ข่าวยอดนิยม


ข่าวยอดนิยม