วันที่ 16 มกราคม 2567 เวลา 08:49 น.
วันที่ 16 มกราคม 2567 ภายหลัง ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ถึงการออกเปิดเผยข้อมูลผลกระทบด้านลบของลองโควิด-19 และวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด
โดยขอให้กระทรวงสาธารณสุขศึกษาข้อมูลผลกระทบก่อนมีคำแนะนำให้ประชาชนฉีดวัคซีนชนิด mRNA ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทางวิชาการเชิงสร้างสรรค์ให้ประชาชนทราบข้อมูลจริงถึงผลกระทบจากการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยเฉพาะวัคซีนชนิด mRNA เนื่องจากข้อมูลที่เกิดขึ้นขณะนี้ พบว่าผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์เริ่มพบกลุ่มอาการต่างๆ ที่รักษายาก
ทั้งที่ผู้ป่วยไม่ได้มีโรคประจำตัว เช่น อาการเหนื่อย นอนไม่หลับ สู้งานไม่ได้ ใจเต้นเร็ว ตื่นแล้วหัวใจเต้นเร็ว มีผื่น ผมร่วง เกิดตุ่มตามผิวหนัง นอกจากนั้น ยังพบโรคไม่ค่อยเจอบ่อยในผู้ที่มีอายุน้อย 20-30 ปี เช่น เริม งูสวัด ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอ ทั้งหมดนี้ เป็นความผิดปกติที่ทางการแพทย์เคยเจอ ยืนยันว่าไม่ได้เป็นการต่อต้านวัคซีนใดๆ ทั้งสิ้น
“กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการอยู่แล้ว ก็เป็นมากขึ้น หรือกลุ่มที่ควบคุมอาการได้ดีแล้วกลับพบว่ามีอาการพัฒนาเร็วขึ้นหลังจากรับวัคซีนมา เช่น สมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน และมีการเกิดโรคใหม่ขึ้น เช่น โรคสมองอักเสบ โรคเส้นเอ็นเนื้อเยื่อพังพืดอักเสบ และยังมีปัญหาด้านความจำ สติปัญญา”
ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์การเปิดเผยข้อมูลของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ว่า เป็นหน้าที่ของ สธ.อยู่แล้วที่ต้องดูแลสุขภาพของประชาชน และเป็นสิ่งต้องเฝ้าระวังอยู่ตลอด
อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีรายงานปัญหาเข้ามา แต่เร็วเกินไปที่จะสรุปเรื่องนี้ อีกทั้งองค์การอนามัยโลกยังไม่มีคำแนะนำเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ ดังนั้น คำแนะนำของ สธ. ยังยึดแนวปฏิบัติเดิมคือ แนะนำให้กลุ่มเสี่ยง 608 รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพราะยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน