วันที่ 9 มกราคม 2567 เวลา 09:38 น.
ปัจจุบันมิจฉาชีพได้สร้างบัญชีเฟซบุ๊กแฟนเพจแอบอ้างหน่วยงานราชการมากมาย โดยมักอ้างว่าให้บริการรับแจ้งความออนไลน์ รับให้ความช่วยเหลือ หรือ รับให้คำปรึกษาแก่ประชาชนแบบออนไลน์ หากมีผู้หลงเชื่อ มิจฉาชีพจะใช้วิธีสร้างบัญชีโซเชียลมาพูดคุยกับเหยื่อโดยอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ สุดท้ายจะขอเอกสารประจำตัวเหยื่อโดยให้ส่งทางแชทพร้อมกับบอกให้โอนเงิน
โดยใช้วิธีการข่มขู่ด้วยบทลงโทษทางกฎหมาย หรืออ้างเหตุผลต่างๆ เพื่อให้เหยื่อยอมโอนเงิน ทั้งนี้ สามารถสังเกตเฟซบุ๊กแฟนเพจ "ตำรวจไซเบอร์" ของจริงได้ ดังนี้
1.สังเกตชื่อและเครื่องหมาย เพจแท้ชื่อ "ตำรวจไซเบอร์-บช.สอท." มีเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้า หรือ Meta Verified ยืนยัน
2.สังเกตยอดผู้ติดตาม เพจแท้มีผู้ติดตามกว่า 1.8 แสนคน (ระวังมิจฉาชีพพิมพ์ยอดผู้ติดตามของปลอมไว้ที่รายละเอียดของเพจ)
3.สังเกต URL โดยกดที่จุด 3 จุด กดที่ลิงก์เพจ เพจของแท้ URL หลังเว็บไซต์เฟซบุ๊กต้องเป็น /CybercopTH
4.สังเกตความโปร่งใสของเพจ เพจแท้ถูกสร้างเมื่อ 20 มกราคม ค.ศ.2021
อย่างไรก็ตาม ตำรวจไซเบอร์ ไม่มีการรับแจ้งความผ่านเฟซบุ๊ก ไม่มีการรับแจ้งความผ่านแชทไลน์ ไม่มีการรับแจ้งความผ่าน direct message (DM) ของแอปใดใดทั้งสิ้น ถ้าเจอลักษณะนี้เมื่อไหร่ให้ท่องไว้ ว่ามันคือ "มิจฉาชีพ"
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน