วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10:28 น.
สำนักการโยธา กทม. โดยสำนักงานควบคุมอาคาร ได้ออกหนังสือขอความร่วมมือไปยังเจ้าของอาคารหรือผู้ประกอบการ รวมทั้งสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ในพื้นที่รับผิดชอบ งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง และให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันฝุ่นละอองในพื้นที่ก่อสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยจะต้องจัดให้มีการป้องกันฝุ่นละอองที่เกิดจากการก่อสร้างและการดัดแปลงอาคาร ดังนี้
1. จัดให้มีการกั้นล้อมอาคารด้วยวัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองที่เกิดจากการก่อสร้าง
2. การกองวัสดุที่มีฝุ่นละอองให้ปิดหรือคลุมหรือเก็บไว้ในที่ปิดล้อมหรือฉีดพรมด้วยน้ำหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม
3. การขนย้ายวัสดุที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองด้วยสายพานให้ปิดให้มิดชิด
4. การผสมคอนกรีต การไสไม้ การกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง ให้ทำในพื้นที่ปิดล้อมหรือมีผ้าคลุม หรือวิธีการป้องกันอย่างอื่นที่เหมาะสม
5. มีการจัดการวัสดุที่เหลือใช้ที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองด้วยวิธีการที่เหมาะสม
6. ทำความสะอาดล้อรถยนต์ทุกชนิดนำออกนอกบริเวณสถานที่ก่อสร้าง โดยจัดหาบริเวณที่ใช้ล้างทำความสะอาดให้เหมาะสม และไม่ให้น้ำที่เกิดจากการล้างทำความสะอาดดังกล่าวไหลออกนอกบริเวณสถานที่ก่อสร้าง
7. ติดตั้งสปริงเกอร์พ่นละอองน้ำลดฝุ่นบริเวณโดยรอบพื้นที่ก่อสร้าง
ทั้งนี้ ภายหลังจากการขอความร่วมมือไปยังเจ้าของอาคารและผู้ประกอบการ ทุกไซต์งานก่อสร้างได้ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันฝุ่นละอองเป็นอย่างดี เพื่อช่วยกันบรรเทาสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ที่สูงเกินค่ามาตรฐาน และร่วมกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อไป
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน