วันที่ 28 ธันวาคม 2566 เวลา 22:33 น.
แพทย์ห่วง! ผู้ป่วยมะเร็งดื่มน้ำใบมะละกอ หวั่นทิ้งการรักษาแผนปัจจุบัน
28 ธันวาคม 2566 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ห่วงใยประชาชนและผู้ป่วยมะเร็ง ดื่มน้ำคั้นใบมะละกอ ด้วยความเชื่อว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ชี้น้ำใบมะละกอยังไม่มีงานวิจัยในคน จึงควรใช้อย่างระวัง และไม่ควรทิ้งการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
ดร.ภญ.ดวงแก้ว ปัญญาภู รองผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า จากกระแสข่าวการใช้ใบมะละกอรักษามะเร็งนั้น ต้องเข้าใจใน 2 ส่วน คือ การรับประทานใบมะละกอ เป็นอาหาร กับ การใช้ใบมะละกอรักษาโรค ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีการนำใบมะละกอมารับประทานแต่คนไม่ค่อยนิยม เพราะเหม็นเขียว และมียางทำให้รับประทานยาก แต่บางพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการนำมาเป็นเครื่องเคียงกับอาหารว่างบางชนิด เช่น ตำกล้วย สารสำคัญของใบมะละกอมีกลุ่มสารไกลโคไซด์ อัลคาลอยด์ และเฟลโวนอยด์ มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญ เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณสูง ถึงแม้รับประทานได้ไม่เป็นอันตราย แต่หลักการรับประทานอาหารโดยทั่วไปการเตรียมวัตถุดิบในการปรุงอาหารต้องสะอาด รับประทานอาหารให้หลากหลาย ไม่รับประทานอาหารซ้ำเป็นเวลานาน ส่วนการรับประทานใบมะละกอในการรักษาโรค
ใบมะละกอ มีการศึกษาวิจัย แต่ยังเป็นการศึกษาวิจัยในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง ดังนั้นผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยสามารถเชื่อมั่นได้ว่า โรคมะเร็งมีการรักษาที่เป็นมาตรฐาน ต้องคำนึงถึงสภาวะโรคของแต่ละบุคคล และต้องมีการติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากการรักษาแผนหลักไม่ประสบผลสำเร็จ หรือไม่สามารถทนต่ออาการไม่พึงประสงค์ของยาหรือแนวทางการรักษาแผนหลักได้ สมุนไพรอาจเป็นทางเลือก แต่ต้องพิจารณาอย่างเหมาะสมร่วมกันระหว่างแพทย์เจ้าของไข้ผู้ป่วย เภสัชกร และแพทย์แผนไทย ที่มีความรู้ด้านสมุนไพร ส่วนน้ำใบมะละกอก็ควรต่อยอดการศึกษาวิจัยในคน ต่อไป
"แนวทางการรักษามะเร็งด้วยสมุนไพรเพื่อใช้เป็นทางเลือกนั้น นอกจากการรักษา แผนปัจจุบันแล้วผู้ป่วยมะเร็งควรได้รับการดูแลแบบองค์รวม ทั้งในด้านอาหารที่เป็นประโยชน์ อากาศบริสุทธิ์ อารมณ์ดีไม่เครียด และการออกกำลังกายที่สมดุลเหมาะกับสภาวะผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาทั้งทางกาย และทางใจ ตามหลักการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก"
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน