วันที่ 28 ธันวาคม 2566 เวลา 13:29 น.
เมื่อวันพุธที่ 27 ธันวาคม 2566 พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้ช่วย ผบ.ตร. รักษาราชการแทน เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายให้นายมานะ ศิริพิทยาวัฒน์ รองเลขาธิการ ป.ป.ส. เป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อการควบคุมการจำหน่ายน้ำต้มใบกระท่อม ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ สำนักงาน อย. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงมหาดไทย ฝ่ายมั่นคง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงคลานครินทร์ และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล
ร่วมด้วยนายนิยม เติมศรีสุข ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการจำหน่ายน้ำต้มมใบกระท่อม กับจังหวัดนครราชสีมา “โคราชโมเดล” ที่ประสบผลสำเร็จในการจัดการกับสถานการณ์การจำหน่ายน้ำกระท่อมในปัจจุบัน ณ สำนักงาน ป.ป.ส. (ดินแดง) และผ่านระบบออนไลน์
เนื่องจากสถานการณ์การจำหน่ายน้ำต้มใบกระท่อมในปัจจุบันไม่เป็นไปในแนวทางตามกฎหมาย พรบ.พืชกระท่อม พ.ศ. 2565 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขายให้แก่เด็กและเยาวชนจนก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การมั่วสุมสร้างความเดือดร้อน รำคาญ ต่อสังคมและชุมชนตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
ที่ประชุมได้เชิญ ฝ่ายมั่นคง จังหวัดนครราชสีมา หารือนำเสนอถึงการผลสำเร็จในการจัดการกับปัญหาน้ำต้มใบกระท่อมในพื้นที่ จนถือได้ว่าเป็น “โคราช โมเดล” ด้วยการบูรณาการหน่วยงานในจังหวัด เช่น ฝ่ายปกครอง ตำรวจ สาธารณสุข สำนักงาน ปปส.ภาค และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ลงพื้นที่จับกุม ดำเนินคดีอย่างจริงจังกับผู้ละเมิด และสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องกับผู้ประกอบการ รวมถึงเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา
โดยทีม “โคราช โมเดล” ในนามของผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้หยิบยกเรื่องนี้เป็นวาระเร่งด่วนของจังหวัดเพื่อให้มีการสร้างความเข้าใจเสริมการรับรู้ให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้จำหน่ายและประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนรวมไปถึงผู้บังคับใช้กฎหมาย
นอกจากนี้ยังมีการมอบหมายให้ชุดปฏิบัติการในระดับอำเภอเข้าดำเนินการจัดการกับ “น้ำต้มกระท่อม” ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่จนสามารถลดความรุนแรงของปัญหาลงได้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกับแนวทางขับเคลื่อนการควบคุมการขายน้ำต้มใบกระท่อมของจังหวัดนครราชสีมา
นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบการเสริมประสิทธิภาพการใช้กฎหมายด้านต่างๆ เพื่อเข้ามาร่วมควบคุมสถานการณ์การขายน้ำต้มใบกระท่อมร่วมกับ พรบ.พืชกระท่อม พ.ศ.2535 ซึ่ง “โคราชโมเดล” ได้นำกฎหมายเหล่านี้มาบังคับใช้ในพื้นที่ เป็นการเสริมความเข้มข้นในการจัดการปัญหาน้ำต้มกระท่อม ประกอบด้วย พรบ. ในการกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข เช่น พรบ.อาหาร พ.ศ.2522 พรบ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พรบ.ยา พ.ศ.2510 พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 และ พรบ. ที่กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบ เช่น พรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 และประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 50 พ.ศ.2502 ร่วมกับพรบ.ทางหลวง และประมวลกฎหมายยาเสพติด
รองเลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้ความสำคัญกับปัญหาและให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่เพื่อดูแลเด็กเยาวชนไม่ให้ได้รับผลจากการใช้น้ำต้มใบกระท่อมในทางที่ผิด หลังจากนี้สำนักงาน ป.ป.ส. จะได้จัดทำรายละเอียดถึงแนวทางการใช้กฎหมายต่างๆ และส่งมอบให้หน่วยงานผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายควบคุมการขายน้ำกระท่อมในทางที่ผิดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน