วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 05:15 น.
(2 ก.พ.66) นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) กล้วยหอมทองพบพระ จ.ตาก ซึ่งเป็นสินค้า GI รายการที่ 3 ของจังหวัดตาก ทำให้สินค้าชุมชนท้องถิ่นได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และเพิ่มรายได้ให้กับกับเกษตรกร โดยกล้วยหอมทองพบพระ เป็นกล้วยพันธุ์กล้วยหอมทองที่ปลูกในพื้นที่อำเภอพบพระ ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกสม่ำเสมอ ทำให้กล้วยหอมทองพบพระมีรสชาติหอมหวาน เป็นเอกลักษณ์ เนื้อสัมผัสแน่น เหนียวหนึบ ผลโค้งคล้ายรูปตัวแอล ปลายผลมีจุกคล้ายดินสอ เปลือกบางและผลสุก สีเหลืองทองสม่ำเสมอกัน ซึ่งกล้วยหอมทองพบพระ 1 เครือ มีน้ำหนักถึง 14 กิโลกรัม
ปัจจุบัน กล้วยหอมทองพบพระ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและมีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป และยังเป็นซอฟต์พาวเวอร์เผยแพร่อัตลักษณ์ไทยสู่นานาชาติ มีตลาดส่งออกสำคัญ คือ ประเทศญี่ปุ่น มูลค่าส่งออกถึง 27 ล้านบาท/ปี และสร้างรายได้ให้เกษตรกรในชุมชนรวมกว่า 440 ล้านบาท/ปี
นอกจากนี้ ในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค (APEC 2022) เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ยังได้นำกล้วยหอมทองพบพระ ให้เป็นหนึ่งในสินค้า GI ที่ร่วมแสดงอัตลักษณ์ความเป็นไทยในโอกาสพิเศษนี้ด้วย
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน