วันที่ 6 ตุลาคม 2566 เวลา 10:11 น.
พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ กรณีนักแสดงหญิงชื่อดังถูกมิจฉาชีพนำชื่อบริษัทของตนไปแอบบ้างประกาศโฆษณาหานักพากย์เสียง หลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ นั้น
จากการตรวจสอบจากศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์พบว่าในช่วงที่ผ่านมา มีผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวจำนวนหลายราย โดยมิจฉาชีพจะสร้างช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Page Instagram Tiktok ปลอมขึ้นมา แอบอ้างเป็นบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ ประกาศทำการโฆษณา “รับสมัครนักพากย์เสียง รายได้ดี ใช้เสียงสร้างรายได้ สามารถทำเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริมได้”
หากสนใจจะให้ติดต่อไปยังพนักงานบริษัทผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หากผู้เสียหายสนใจติดต่อไป มิจฉาชีพจะสอบถามข้อมูลส่วนตัว ประสบการณ์ทำงาน ถ่ายภาพใบหน้า และแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องให้ผู้เสียหายทราบ
จากนั้นจะหลอกลวงผู้เสียหายเข้ากลุ่มไลน์ และเริ่มทำกิจกรรมง่ายๆ เช่น กดไลก์สินค้า รับชมสินค้าของบริษัท และสำรองเงินในจำนวนเล็กน้อยเพื่อซื้อสินค้าเมื่อทำกิจกรรมครบ หรือเสร็จสิ้นตามจำนวนก็จะได้รับเงิน และผลกำไรคืนเล็กน้อยจริง
โดยอ้างว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นการทดลองงาน เมื่อผ่านจะได้เข้าไปคุยกับมิจฉาชีพอีกรายที่อ้างว่าเป็นผู้จัดการ ซึ่งจะแจ้งผู้เสียหายให้ทำกิจกรรมสนับสนุนบริษัท เพื่อจะได้ผ่านเข้ารอบการว่าจ้างงานต่อไป โดยจะหลอกให้ทดสอบพากย์เสียง พร้อมกับโอนเงินเพื่อซื้อสินค้าซึ่งอ้างว่าเป็นอุปกรณ์จำเป็นที่ต้องใช้ในการทำงาน เช่น ไมโครโฟนสำหรับฝึกร้องเพลง และพากย์เสียง เป็นต้น
โดยแจ้งว่าผู้เสียหายจะได้รับเงินคืนพร้อมค่าคอมมิชชั่น โดยเริ่มจากให้โอนจำนวนน้อยก่อนแล้วได้รับเงินจริง กระทั่งสินค้ามีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผู้เสียหายโอนเงินไปแล้วก็จะไม่ได้รับเงินคืนแต่อย่างใด มิจฉาชีพจะอ้างเหตุผลต่างๆ
หากผู้เสียหายไม่ยอมโอนเงินก็จะถูกข่มขู่ เช่น หากไม่โอนเงินจะทำการอายัดบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย รวมถึงสมาชิกที่อยู่ภายในกลุ่มก็จะไม่ได้รับเงินคืนด้วย ซึ่งสมาชิกดังกล่าวก็เป็นมิจฉาชีพที่สร้างบัญชีผู้ใช้อวตารขึ้นมาหลอกลวงผู้เสียหาย
จากสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65 - วันที่ 30 ก.ย.66 พบว่า การหลอกลวงโอนเงินเพื่อหารายได้เสริมจากการทำกิจกรรม มีผู้เสียหายแจ้งความออนไลน์กว่า 44,250 เรื่อง หรือคิดเป็น 13.20% จากเรื่องการรับแจ้งความทั้งหมด สูงเป็นลำดับที่ 2 รองจากการหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์
โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า 5,425 ล้านบาท สูงเป็นลำดับที่ 3 ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด รองลงมาจากการหลอกลวงให้ลงทุน และการหลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นขบวนการ (แก๊ง Call Center)
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน