วันที่ 5 ตุลาคม 2566 เวลา 13:28 น.
วันที่ 5 ต.ค.66 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม(วธ.) เปิดเผยว่า หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ประจำปี 2566 โดยภาพยนตร์ส่วนหนึ่งมาจากประชาชนกว่า 1,000 คน ที่ร่วมเสนอรายชื่อ โดยพิจารณาคัดเลือกตามหลักเกณฑ์คุณค่า ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ อิทธิพลต่อสังคม วัฒนธรรมและศิลปะ
ภาพยนตร์ 10 เรื่องที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในปีนี้ ครอบคลุมหลากหลายมิติทางสังคม ประวัติศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงรากฐานวัฒนธรรมภาพเคลื่อนไหวอันแข็งแรงของผู้สร้างไทย รายชื่อภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติประจำปี 2566 ได้แก่
1. ปักธงไชย (2500)
2. Thailand (2501)
3. กตัญญูปกาสิต (2501)
4. โกนจุก (2510)
5. วันมหาวิปโยค (2516)
6. เทวดาเดินดิน (2519)
7. [สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า] (2528)
8. เพลงสุดท้าย (2528)
9. 14 ตุลาสงครามประชาชน (2544)
10. หัวใจทรนง The Adventure of Iron Pussy (2546)
ปี 2566 เป็นปีครบรอบ 50 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีภาพยนตร์สามเรื่องที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์นี้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ วันมหาวิปโยค (2516) เป็นบันทึกเหตุการณ์ 14 ตุลาคมที่ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ นักข่าวภาพยนตร์อิสระได้ถ่ายเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไว้
ส่วนหนัง [สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า] [2528] เป็นฟุตเทจหายากที่ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ได้สัมภาษณ์อดีตนักศึกษาและนักเคลื่อนไหวที่ออกจากป่าหลังจากไปเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ไทย เช่น จิระนันท์ พิตรปรีชา, เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, จรัล ดิษฐาอภิชัย, เหวง โตจิราการ, เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ, เกรียงกมล เลาหไพโรจน์, คณะวงดนตรีคาราวาน และชาวบ้านคนอื่น ๆ
ไกรศักดิ์ตั้งใจจะตัดต่อฟุตเทจเป็นสารคดี แต่ทำไม่เสร็จสิ้น คงเหลือไว้แต่ฟุตเทจที่มีความยาวกว่า 11 ชั่วโมง เรื่องสุดท้ายได้แก่ 14 ตุลาสงครามประชาชน (2544) ภาพยนตร์ชีวประวัติ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล บุคคลสำคัญทางการเมืองในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทย เป็นงานกำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
ส่วนภาพยนตร์เทวดาเดินดิน (2519) โดย ม.จ.ชาตรีเฉลิมยุคล เป็นหนังที่จับภาพวัยรุ่นไทยในช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างเข้มข้น เป็นทั้งหนังสะท้อนสังคมและหนังแอคชั่นผจญภัยไปพร้อม ๆ กัน
นอกจากนี้ ภาพยนตร์คลาสสิกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนที่สำคัญยังมีปักธงไชย (2500) สร้างโดยบริษัท ละโว้ภาพยนตร์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ถือเป็นผลงานที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงหลงเหลืออยู่ของพระองค์ ผู้ทรงเป็นนักทำหนังที่มีบทบาทสำคัญต่อวงการภาพยนตร์ไทย และเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก และหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่เล่าถึงสงครามปราบฮ่อ สมัยรัชกาลที่ 5 กตัญญูปกาสิต (2501) หนังร่วมทุนไทยฮ่องกงที่ประสบความสำเร็จทั้งที่ไทยและต่างแดนด้วยความสามารถของยอดฝีมือแห่งวงการหนังไทยยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทั้ง ครูเนรมิต ผู้กำกับ ส. อาสนจินดา ผู้เขียนบท และบรรดานักแสดงชั้นครู
ขณะที่ภาพยนตร์ LGBTQ 2รสชาติอันแตกต่าง และแสดงให้เห็นการเดินทางของหนังแห่งความหลากหลายทางเพศของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนในปีนี้ ได้แก่ เพลงสุดท้าย (2528) หมุดหมายสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศในภาพยนตร์ไทย ที่ส่งอิทธิพลต่อเนื่องอย่างกว้างขวางยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน กำกับโดย พิศาล อัครเศรณี และอีกเรื่องได้แก่ หัวใจทรนง (2546) งานกำกับร่วมของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล และ ไมเคิล เชาวนาศัย กับเรื่องราวของสายลับไออ้อน พุซซี่ งานที่คารวะสุนทรีศาสตร์ของหนังไทยุค 16 มม. พร้อมไปกับการสร้างอารมณ์ขันสำหรับผู้ชมร่วมสมัย
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน