วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เวลา 11:18 น.
3 กันยายน 2566 จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้แชร์เคล็ดลับ "หุงข้าวพร้อมกับต้มไข่"พร้อมระบุเพื่อช่วยให้ประหยัดเวลา ประหยัดไฟ แต่กลับกลายเป็นประเด็นถกเถียงในโลกโซเชียล เนื่องจากมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บางส่วนเป็นห่วงเรื่องความสะอาจ และ เชื้อโรคปนเปื้อน บางคนก็เห็นว่า ดีออก เพราะประหยัดไฟและเวลา
ศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว โดยรายละเอียดระบุว่า
"คำตอบคร่าวๆ คือ ความร้อนที่ทำให้น้ำในหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเดือดจนข้าวสุกนั้น มากเพียงพอที่จะฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ติดมากับไข่ ดังเช่น เชื้อซาลโมเนลลา แต่ก็ยังต้องระวังเรื่องของสิ่งสกปรกต่างๆ ที่ติดมากับเปลือกไข่ด้วย (ถ้าล้างออกไม่หมด) และก็ไม่ใช่วิธีการใช้งานตามปรกติของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า จึงไม่ได้แนะนำให้ทำตาม
- ไข่ไก่ (และไข่สัตว์ปีกอื่นๆ ) จริงๆ แล้วแม่ไก่ออกไข่ผ่านมาทางทวารหนัก ที่เป็นช่องเปิดร่วมกับท่อนำไข่ จึงทำให้ไข่ไก่มีโอกาสเปื้อนกับมูลไก่ และอาจมีความเสี่ยงที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ดังเช่น เชื้อซาลโมเนลลา Salmonella ได้ ทั้งในส่วนของผิวเปลือกไข่ที่เปื้อนมูลไก่/หรืออาจจะติดมาตั้งในระหว่างที่สร้างฟองไข่ขึ้นในร่างกายของแม่ไก่ ทำให้เชื้อเข้าไปอยู่ในเนื้อไข่แดงไข่ขาวได้
- เชื้อ Salmonella เป็นหนึ่งในเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ ตั้งแต่ขั้นเล็กน้อย ไปจนถึงขั้นรุนแรง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ไข้ขึ้น อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคที่รับเชื้อเข้าไป
- แต่เชื้อ Salmonella นั้นสามารถฆ่าให้ตายได้หมด ที่อุณหภูมิ 74 องศาเซลเซียส จึงเป็นข้อกำหนดสำคัญว่า ไม่ควรบริโภคไข่ดิบ (ถ้าไม่ได้มาจากฟาร์มเลี้ยงที่การันตีเรื่องการปลอดเชื้อโรค) และควรจะต้องทำให้สุก ด้วยอุณหภูมิสูง เป็นเวลานานเพียงพอ เช่น ทำให้ภายในไข่มีอุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 15 วินาที ก็จะปลอดภัยจากเชื้อ Salmonella และเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษ ส่วนใหญ่ได้
หม้อหุงข้าวไฟฟ้านั้น จะสามารถทำความร้อนภายในหม้อให้สูงถึง 100 องศาเซลเซียส หรือถึงจุดเดือดของน้ำได้ โดยจะให้ความร้อนสูงระดับนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งน้ำในหม้อเริ่มแห้ง และทำให้หม้อมีความร้อนที่เกินกว่า 100 องศา จึงจะทำการตัดการทำงาน เป็นมาเป็นการอุ่นข้าว ที่อุณหภูมิประมาณ 60-80 องศาเซลเซียสแทน... จึงน่าที่จะเพียงพอที่จะฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่ติดมากับไข่ได้ ทั้งที่อยู่ที่เปลือกไข่และภายในเนื้อไข่
ปรกติแล้ว เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่และผู้จำหน่ายไข่ จะไม่ล้างไข่ก่อนจะนำมาขาย เนื่องจากจะทำให้สารที่เคลือบผิวของไข่ตามธรรมชาติ ถูกทำลายลง ส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าไปในไข่ได้ง่ายขึ้น ทำให้ไข่เสียเร็วขึ้น จึงมักใช้วิธีการเช็ดทำความสะอาดแค่นั้น
ดังนั้น ถ้าจะนำไข่ มาต้มพร้อมกับการหุงข้าว ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า หรือหุงด้วยหม้อต้มน้ำตั้งไฟ ก็ควรเริ่มจากการเลือกใช้ไข่ใหม่ ที่เปลือกไข่สะอาด ไม่มีคราบสกปรก ไม่มีรอยแตกร้าว ไม่ได้เก่าเก็บไว้นาน มาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำ เอาสิ่งสกปรกที่เปลือกไข่ออกให้หมด โดยระมัดระวังไม่ให้น้ำที่ล้าง (และอาจมีเชื้อจุลินทรีย์ปนอยู่) นั้นกระเด็นไปเปื้อนภาชนะหรืออาหารอื่นๆ ในครัว
ใส่ข้าวสารและน้ำในหม้อหุงข้าวไฟฟ้าตามสัดส่วนปรกติ วางไข่ลงไปบนข้าว และเพิ่มน้ำลงไปอีกประมาณครึ่งถ้วยเพื่อให้เพียงพอที่จะให้ความร้อนกับไข่ทั้งฟองได้ ทำการหุงตามปรกติ จนข้าวสุก สามารถนำมาบริโภคได้
อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวแล้ว ก็ไม่ได้ส่งเสริมให้ทำแบบนี้ เนื่องจากหม้อหุงข้าวไฟฟ้าไม่ได้ถูกออกแบบผลิตมาให้ใช้ประกอบอาหารรวมกัน ระหว่างข้าวกับอาหารอื่นๆ จึงอาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องการทำงานของเครื่องแต่ละรุ่น แต่ละสภาพเก่า-ใหม่ ที่จะให้ความร้อนสูงและนานเพียงพอหรือไม่ ที่จะฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมถึงสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น ที่อาจทนความร้อนสูงได้ด้วย"
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน