วันที่ 21 กันยายน 2566 เวลา 11:05 น.
วันที่ 21 กันยายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานสถานการร์ปรากฏการณ์ "แพลงก์ตอนบูม" ที่เกิดขึ้นในทะเลไทยภาคตะวันออก ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งทำให้น้ำทะเลกลายเป็นสีเขียวอย่างน่ากลัว และทำให้ออกซิเจนในน้ำทะเลลดลง ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเล
โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมการเลี้ยงหอยแมลงภู่ รายงานได้เสนอภาพมุมกว้างทางอากาศ ซึ่งจะเห็นทะเลได้เปลี่ยนเป็นสีเขียวอย่างชัดเจน กินพื้นที่บริเวณกว้างตามแนวชายฝั่งของจังหวัดชลบุรี โดย รอยเตอร์ส ระบุว่า เมื่อเกิดภาวะบูมของแพลงก์ตอนก็ทำให้ทะเลขาดออกซิเจน ทำให้ปลา หอย และสัตว์ทะเลต่างๆตายลง
รายงานยังอ้าง ดร.ธนัสพงษ์ โภควนิช จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ยืนยันว่า เป็นครั้งแรกที่เห็นภาวะแพลงก์ตอนบูมในระดับที่มากเช่นนี้ ซึ่งหมายความว่าปีนี้เป็นปีที่ย่ำแย่มากๆ โดยทีมนักวิจัยของดร. ธนัสพงษ์ ระบุว่า พื้นที่ตอนบนของอ่าวไทยทั้งหมดกลายเป็นสีเขียว ขณะที่พื้นที่ด้านล่างใกล้ตอนบนของอ่าวไทยก็จะมีสีน้ำตาล จากแพลงก์ตอนที่ตาย และจากมลภาวะต่างๆ และยังอ้างข้อมูลจากสมาพันธ์ประมงจังหวัดชลบุรี ด้วยว่า ภาวะแพลงก์ตอนบูมได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงหอยแมลงภู่ถึง 80% ทีเดียว ซึ่งตามชายฝั่งของจังหวัดชลบุรีนั้นมีฟาร์มหอยแมลงภู่อยู่ราว 260 แห่ง ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเกือบจะ 100% ทีเดียว
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน