วันที่ 19 กันยายน 2566 เวลา 10:18 น.
โตเกียว, 18 ก.ย. (ซินหัว) -- การสำรวจจากทีมวิจัยประจำกระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่น พบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งมีความเสี่ยงฆ่าตัวตายภายในสองปีหลังรับการวินิจฉัยสูงกว่าประชากรทั่วไปราว 1.8 เท่า
รายงานจากกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น เผยว่าทีมวิจัยเน้นย้ำความสำคัญของการดำเนินงานล่วงหน้าเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งระบุว่ายิ่งระยะเวลาที่ผ่านไปหลังการวินิจฉัยสั้นลงเท่าใด ความเสี่ยงฆ่าตัวตายจะสูงขึ้นเท่านั้น
การศึกษาข้างต้นวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งราว 1.07 ล้านคนในปี 2016 โดยตลอดระยะเวลาสองปี ทีมวิจัยได้ติดตามจำนวนและช่วงเวลาการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยเหล่านี้ พร้อมนำผลลัพธ์ไปเปรียบเทียบกับอัตราการฆ่าตัวตายของประชากรทั่วไป
การสำรวจพบว่าผู้ป่วย 660 คน ฆ่าตัวตายภายในสองปีหลังการวินิจฉัย ซึ่งส่งผลให้มีความเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงกว่าคนทั่วไป 1.84 เท่า โดยในเดือนแรกหลังรับการวินิจฉัยมีความเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงที่สุดถึง 4.40 เท่า ตามมาด้วยระยะเวลา 2-3 เดือน (2.61 เท่า) และระยะเวลา 4-6 เดือน (2.17 เท่า) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในความเสี่ยงฆ่าตัวตายที่อิงจากอายุหรือเพศ
ทั้งนี้ การสำรวจเผยว่าการฆ่าตัวตายส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บ้าน ด้วยสัดส่วน 472 กรณีจาก 660 กรณี คิดเป็นกว่าร้อยละ 70 ของการฆ่าตัวตายทั้งหมด ซึ่งบ่งชี้ถึงความจำเป็นของกลยุทธ์ที่มุ่งเป้าไปยังผู้ป่วยนอกโรคมะเร็งและครอบครัว เพื่อรับมือกับแนวโน้มที่น่าตกใจนี้
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน