หนอนพู่ฉัตร เป็นหนอนปล้องที่มีลำตัวยาว เป็นทรงกระบอก ลักษณะเด่นของเจ้าหนอนชนิดนี้คือ มีเกลียวพู่หลากหลายสีสัน ทั้งแดง เหลือง ส้ม ฟ้า น้ำเงิน น้ำตาล และขาว บานได้หุบได้ แต่งแต้มสีสันอยู่ตามโขดหินใต้ทะเล เจ้าเกลียวพู่นี้ จะช่วยในการรับอาหารที่พัดลอยมาตามกระแสน้ำ ขณะเดียวกันที่เกลียวเหล่านี้ ก็จะมีเส้นขนเล็กเรียงรายอยู่ เพื่อช่วยในการพยุงตัวอยู่ในน้ำ เนื่องจากเจ้าหนอนชนิดนี้ไม่มีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการว่ายน้ำนั่นเอง
นอกจากนี้แล้ว ท่อหลากสีนี้ ยังช่วยเรื่องการหายใจอีกด้วย ดังนั้นหากเรียกชื่อมันตามโครงสร้างทั่วไปแล้ว เจ้าท่อเหล่านี้ก็คือ เหงือกของมันนั่นเอง หนอนพู่ฉัตร มักจะอาศัยฝังตัวอยู่ในพวกหินปะการังแข็ง ขนาดใหญ่ใต้ท้องทะเล หนอนชนิดนี้ เป็นสัตว์ทะเลขี้ตกใจ หากเข้าไปใกล้ ๆ มันก็จะหุบเกลียวสีต่าง ๆ หายเข้าไปในท่อ ท่อนี้จะมีหน้าที่เหมือนบ้านคอยปกป้องตัวมันจากอันตรายและศัตรู กระทั่งเมื่อน้ำนิ่ง มันก็จะค่อย ๆ ออกมาอวดสีสันงดงามอีกครั้ง
ที่มา : อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน