วันที่ 4 กันยายน 2566 เวลา 14:26 น.
พลตำรวจโท จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เปิดเผย กรณีการร้องเรียนให้ตรวจสอบตำรวจทางหลวง หลังพบว่ามีการจ่ายเงินเพื่อแลกกับการบรรทุกน้ำหนักเกินตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นสติกเกอร์หลายรูปแบบ หรือที่เรียกว่า “ส่วยสติกเกอร์”
หลังจากที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้สั่งการให้ย้ายผู้บังคับการตำรวจทางหลวงไปแล้ว และให้พลตำรวจตรีจรูญเกียรติ ปานแก้ว ผู้บังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ ปปป. ไปรักษาราชการแทนและตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว
ยืนยันว่า ขณะนี้ไม่พบว่ามีการจ่ายส่วยสติกเกอร์แล้ว แต่ก่อนหน้านี้ที่มีการร้องเรียนและสั่งย้ายตำรวจทางหลวงกว่า 40 นายมาตรวจสอบ เชื่อว่าบางส่วนมีการกระทำความผิด แต่ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างรอรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากพลตำรวจตรีจรูญเกียรติ ส่งมาให้อยู่ ซึ่งขณะนี้ตำรวจทางหลวงได้ปรับเปลี่ยนการทำงานมากขึ้น โดยเน้นการทำงานสืบสวนจับกุมกับหน่วยอื่นๆ เช่น การจับรถที่ขนยาเสพติด รถยนต์เถื่อน สวมป้ายทะเบียน การลักลอบค้ามนุษย์ เป็นต้น
ส่วนการตรวจสอบข้อเท็จจริงก็ยังมีอยู่ 3 ส่วน คือ ชุดตรวจสอบข้อเท็จจริงจากจเรตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และกองบังคับการตำรวจทางหลวง ซึ่งหากชุดใดพบความผิดก็จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างแน่นอน แต่การรับส่วยดังกล่าว เชื่อว่ามีคนกลางที่รับส่วย และส่งไปยังหลายหน่วยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งหากใครพบมีการจ่ายส่วยอยู่อีกก็สามารถแจ้งมาได้
ส่วนการพิจารณาบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจทางหลวงคนต่อไป เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชาระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องรอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ก่อน ส่วนการแต่งตั้งผู้บังคับการก็จะเป็นลำดับถัดไป ซึ่งปัจจุบันก็ยังทำงานร่วมกับรักษาราชการแทนผู้บังคับการตำรวจทางหลวงอยู่ยังเป็นไปในทิศทางที่ดี ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน