วันที่ 28 สิงหาคม 2566 เวลา 11:14 น.
เมื่อวันที่ 28 ส.ค. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ในหัวข้อ “ไข้หวัดใหญ่และ RSV กำลังระบาด และพบบ่อย ในขณะนี้” โดยระบุว่า
โรคทางเดินหายใจที่พบบ่อยและกำลังระบาดอยู่ขณะนี้ ไข้หวัดใหญ่และ RSV พบได้บ่อยมากในขณะนี้ ไข้หวัดใหญ่ในปีนี้กำลังระบาดอยู่ หลังจากสงบเงียบในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 มา 3 ปี ในปีนี้พบได้บ่อยและระบาดมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน พบได้ทั้ง 3 สายพันธุ์ คือไข้หวัดใหญ่ A ได้แก่ H1N12009, H3N2 และไข้หวัดใหญ่ B ที่ระบาดในปีนี้เป็นสายพันธุ์ Victoria สายพันธุ์เดียวกับที่เคยระบาดทิ้งท้าย ก่อนโควิด-19 เชื้อที่พบในปีนี้พบทั้ง 3 สายพันธุ์จึงเป็นเหตุให้มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก
กลุ่มเปราะบาง หรือ 608 ที่เรารู้จักกัน รวมทั้งเด็กเล็ก เป็นกลุ่มที่ควรจะได้รับการป้องกันด้วยวัคซีน ถึงแม้ว่าวัคซีนจะมีประสิทธิภาพไม่สูงมาก แต่จะได้ลดความรุนแรงของโรคลง
ส่วน RSV ที่พบอยู่ขณะนี้ส่วนมากพบในเด็ก และกลุ่มผู้สูงอายุ ในเด็กที่กำลังระบาดอยู่นี้เป็น RSV สายพันธุ์ B ซึ่งตรงข้ามกับปีที่ผ่านมาการระบาดเป็นสายพันธุ์ A (ON1) RSV เป็นโรคที่เป็นแล้วเป็นได้อีก เด็กบางคนเป็นทุกปี และจะระบาดไปถึงปลายปีโดยเฉพาะปลายฝนต้นหนาว ถึงแม้ว่าจะมีเพียง 2 สายพันธุ์คือ A และ B แต่ยังแบ่งสายพันธุ์เป็นกลุ่มเล็กๆ ได้อีก การติดเชื้อสายพันธุ์ A ไปแล้วก็สามารถเป็นสายพันธุ์ A ซ้ำได้หรือเป็นสายพันธุ์ B ก็ได้ (จากการวิจัยของศูนย์ไวรัส จุฬาที่ผมทำอยู่)
ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ RSV ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อในปีต่อไปได้ เช่นเดียวกันกับโควิด-19 จึงทำให้เป็นแล้วเป็นได้อีก ในเด็กปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในการป้องกัน ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาใช้วัคซีนในสตรีตั้งครรภ์เพื่อหวังป้องกันในเด็ก ช่วงแรกเกิดหรือ 6 เดือนแรก แต่ในบ้านเรายังไม่มีการนำมาใช้ ส่วนในเด็กวัคซีนคงยังต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพราะโรคนี้เป็นแล้วเป็นได้อีก
การป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับไข้หวัดใหญ่ และ RSV ก็คงหนีไม่พ้นวิธีการป้องกันเช่นเดียวกันกับการป้องกันโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นการล้างมือ ดูแลสุขอนามัย ใส่หน้ากากอนามัยในที่มีคนหนาแน่น ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ หรือมีอาการทางเดินหายใจ ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน